วันอาทิตย์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2555

โครงงานน้ำพริกปลาแก้วบทที่1-บทที่5

  โครงงานบูรณาการ 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้
และการสืบค้นภูมิปัญญาท้องถิ่นในเขตอำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา
หน่วยบูรณาการ “ น้ำพริกสารพัดนึก ”
โครงงาน น้ำพริกปลาแก้ว
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 กลุ่มที่ 1/45
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555

กลุ่มผู้ศึกษา

             1.   นายไพรัตน์                   ขอเพ่งกลาง          ชั้น ม.4/1              เลขที่ 6
                                2.   นายวันชัย                     มณีกลาง               ชั้น ม.4/1              เลขที่ 7
                                3.   นายพัศกร                     สมานกลาง           ชั้น ม.4/1              เลขที่ 12
                                4.   นางสาวณัฐริกา            นุกาศรัมย์              ชั้น ม.4/1              เลขที่ 14
                                5.  นางสาวเกศริน              ยนจอหอ                ชั้น ม.4/1              เลขที่ 20
                                6.   นางสาวจุฑามาศ         ยกครุฑ                  ชั้น ม.4/1              เลขที่ 24
                                7.   นางสาวเจนจิรา            เอื้อกลาง               ชั้น ม.4/1             เลขที่ 25
                                8.   นางสาวนลินีภรณ์        ขวัญสุริยะ              ชั้น ม.4/1              เลขที่ 30
                                9.   นางสาวปิยมาภรณ์       คุณทะวงษ์            ชั้น ม.4/1              เลขที่ 33
                                10. นางสาวสิทธิพร            เอนกพงษ์             ชั้น ม.4/1              เลขที่ 38
                                11.  นางสาวณัฐกมล          เทพกลาง              ชั้น ม.4/1              เลขที่ 50

เสนอ
คณะกรรมการบูรณาการระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

โรงเรียนโนนสูงศรีธานี
อำเภอโนนสูง        จังหวัดนครราชสีมา
สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 31
                                                                                                                                                                               




(ก)
     คำนำ

                                กลุ่มผู้ศึกษาได้ดำเนินการจัดทำโครงงานบูรณาการ เรื่อง น้ำพริกปลาแก้ว ในหน่วยบูรณาการ น้ำพริกสารพัดนึก  ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4  โดยกลุ่มผู้ศึกษาได้ร่วมกันสืบค้นข้อมูลในการจัดทำโครงงาน จากชุมชน ศาลตาปู่ ในเขตอำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา   โครงงานนี้ประสบผลสำเร็จในการดำเนินงานด้วยดี โดยความร่วมกันของผู้จัดทำโครงงานภายในกลุ่ม  และมีผู้ให้คำปรึกษาในการจัดทำโครงงานประกอบด้วย คณะกรรมการบูรณาการระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4  และ ชาวบ้านในชุมชนศาลตาปู่
                                โครงงานนี้กลุ่มผู้ศึกษาหวังว่าจะเกิดประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจโดยทั่วไป

                                                                                                                            กลุ่มผู้ศึกษา
                                                                                                กลุ่มที่ 1/45 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
                                                                                                                   โรงเรียนโนนสูงศรีธานี
                                                                                                              กันยายน 2555











                                                                                                                                                                               






(ข)
สารบัญ

 เรื่อง                                                                                                                                             หน้า

คำนำ                                                                                                                                                                                      สารบัญ                                                                                                                                                                                  บทคัดย่อ                                                                                                                                                                 บทที่ 1  บทนำ                                                                                                                                                     บทที่  2  เอกสารที่เกี่ยวข้อง                                                                                                                             บทที่  3  วิธีการดำเนินงาน                                                                                                                           บทที่  4   ผลการศึกษา                                                                                                                                      บทที่  5   สรุปผลการศึกษา และข้อเสนอแนะ                                                                                         ภาคผนวก                                                                                                                                                             
      - รายชื่อคณะกรรมการระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4                                                                     
      -  รูปการจัดกิจกรรม                                                                                                                          












                                                                                                                                                                                               




                                                                                                บทคัดย่อ
โครงงานเรื่อง                      น้ำพริกปลาแก้ว
ชื่อหน่วยบูรณาการ             น้ำพริกสารพัดนึก
กลุ่มผู้ศึกษา                           กลุ่มที่ 1/45 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4  
                                                โรงเรียนโนนสูงศรีธานี   อำเภอโนนสูง  จังหวัดนครราชสีมา
เวลาที่ดำเนินการ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2554
--------------*************--------------
โครงงานบูรณาการ 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้  และการสืบค้นภูมิปัญญาท้องถิ่น
ในเขตอำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา  เรื่อง น้ำพริกปลาแก้วหรรษา ของกลุ่มที่ 1/45 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ได้ดำเนินการจัดทำโครงงานบูรณาการ มีวัตถุประสงค์คือ   1.  เพื่อศึกษา น้ำพริกปลาแก้วหรรษา ในเขตอำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา  และ  2.  เพื่อศึกษาความพึงพอใจใน น้ำพริกปลาแก้ว ในเขตอำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา   การดำเนินงานนี้ ผู้ศึกษา ได้ดำเนินการสืบค้นข้อมูลจากชุมชน ศาลตาปู่ โดยกลุ่มได้มีขั้นตอนการดำเนินงานคือ  รวมกลุ่มกันดำเนินงาน  สืบค้นข้อมูลจากชุมชน  จากแหล่งเรียนรู้ต่าง  ๆ เช่น อินเทอร์เน็ต คนในชุมชน เป็นต้น  จากนั้นนำมาเสนอในวันกิจกรรมบูรณาการของโรงเรียน โดยนำเสนอด้วยวาจา นำเสนอในรูปของเอกสาร ชิ้นงาน แผ่นพับ และแผงโครงงาน  มีผู้ประเมินผลประกอบด้วย นักเรียนประเมินด้วยตนเองในส่วนของกระบวนการทำงาน ผู้ปกครองประเมินในส่วนของคุณธรรมจริยธรรม และครูในส่วนของด้านความรู้ มีผลการศึกษา พบว่า
1.น้ำพริกปลาแก้ว ในเขตอำเภอโนนสูงจังหวัดนครราชสีมา  
มีขั้นตอนจัดทำ ดังนี้
1.             ศึกษาการทำน้ำพริกปลาแก้วจากแหล่งศึกษาต่างๆ
2.             รวบรวมข้อมูลที่ศึกษา จากแหล่งศึกษาต่างๆ
3.             นำข้อมูลทั้งหมดมาวิเคราะห์แล้วนำมาประยุกต์ให้อยู่ในรูปการนำเสนอ แล้วสามารถเข้าใจได้ง่ายขึ้น
                           2.  ความพึงพอใจในการดำเนินงานมีความพึงพอใจระดับ มากที่สุด
        ข้อค้นพบใหม่ที่นักเรียนได้รับจากการศึกษาโครงงานนี้คือ การช่วยเหลือกันทำงานในกลุ่ม การแบ่งหน้าที่ การรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมาย ความสามัคคีในหมู่คณะ และได้รู้ว่าการทำน้ำพริกปลาแก้วสามารถดัดแปลงสูตรได้โดยการนำปลาชนิดอื่นมาทำได้






บทที่ 1
บทนำ

1.   ความสำคัญและเหตุผลในการจัดทำโครงงาน
                จากที่โรงเรียนโนนสูงศรีธานีได้จัดกิจกรรมบูรณาการ 8 กลุ่มสาระขึ้นและในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ได้หัวหน่วยบูรณาการที่ว่า “น้ำพริกสารพัดนึก” ทางคณะผู้จัดทำจึงได้จัดทำโครงงานที่มีชื่อว่า “น้ำพริกปลาแก้ว” อันเนื่องมาจากภูมิปัญญาท้องถิ่น ของชาวบ้านที่มักจะรับประทานน้ำพริกกับผักพื้นบ้านเป็นประจำ

2.  วัตถุประสงค์
2.1  เพื่อศึกษา น้ำพริกปลาแก้ว ในเขตอำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา
               2.2   เพื่อศึกษาความพึงพอใจใน น้ำพริกปลาแก้ว ในเขตอำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา  

3.   เป้าหมายของการศึกษา
                3.1  ศึกษาเกี่ยวกับ น้ำพริกปลาแก้ว
มีรายละเอียดที่ศึกษาประกอบด้วย
                 - เป้าหมายเชิงปริมาตรทำน้ำพริกปลาแก้วประมาณ 50 กระปุก
                 - เป้าหมายเชิงคุณภาพ สามารถรับประทานโดยไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ 
                3.2 ระยะเวลาที่ทำการศึกษา
                       ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 255ถ
                3.3  สถานที่ดำเนินงาน
                        3.3.1  ดำเนินงานศึกษาหาความรู้จาก
                             บ้านเลขที่ 36 บ้านศาลตาปู่ ต.โนนสูง อ.โนนสูง จ.นครราชสีมา
                       3.3.2  นำเสนอโครงงาน ที่โรงเรียนโนนสูงศรีธานี อำเภอโนนสูง จังหวัด นครราชสีมา






4.  ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
                4.1   ผู้ศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ น้ำพริกปลาแก้ว
                4.2   ผู้ศึกษามีความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดทำโครงงานบูรณาการ
                4.3   ผู้ศึกษาสามารถนำความรู้เกี่ยวกับการจัดทำโครงงานไปเป็นแนวทางการศึกษาในรายวิชาต่าง ๆ หรือประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้



















                                                                                                                                                                                               







บทที่ 2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง

                การศึกษาเกี่ยวกับ น้ำพริกปลาแก้ว
กลุ่มผู้ศึกษา ได้ศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำโครงงานดังนี้ โดยมีข้อมูลที่ครูสอนในวิชาที่บูรณาการจำนวน 8 วิชา  โดยสรุปดังนี้
1.วิชาคณิตศาสตร์
            โครงงานบูรณาการ น้ำพริกสารพัดนึก เรื่อง น้ำพริกปลาแก้ว มีเนื้อหาเกี่ยวกับวิชาคณิตศาสตร์ ดังนี้ ในวิชาคณิตศาสตร์ ใช้คำว่า “เซต” ในการกล่าวถึงกลุ่มของสิ่งต่างๆและเมื่อกล่าวถึงกลุ่มใดแล้วสามารถทราบได้แน่นอนว่าสิ่งใดอยู่ในกลุ่มและสิ่งใดไม่อยู่ในกลุ่ม เช่น เซตของชื่อวันในสัปดาห์ เซตของคำตอบของสมการ x2-4 = 0 เรียกสิ่งที่อยู่ในเซตว่า สมาชิก ( Elements ) เช่น
               เซตของชื่อวันในสัปดาห์ มีสมาชิกได้แก่ จันทร์ อังคาร พุธ พฤหัสบดี ศุกร์ เสาร์ และอาทิตย์
               เซตคำตอบของสมการ x2-4 = 0 มีสมาชิกได้แก่ -2 และ 2
               เซตของเครื่องปรุงน้ำพริกปลาแก้ว มีสมาชิกได้แก่ ปลาแก้ว พริกป่น น้ำตาลป่น หัวหอมเจียวกระเทียมเจียว รสดี ตะไคร้ทอด และใบมะกรูดทอด
A = ปลาแก้ว, พริกป่น, น้ำตาลป่น, หัวหอมเจียว, กระเทียมเจียว, รสดี, ตะไคร้ทอด, ใบมะกรูดทอด
















2.   วิทยาศาสตร์  
 ฟิสิกส์  
                  โครงงานบูรณาการ น้ำพริกสารพัดนึก เรื่อง น้ำพริกปลาแก้ว มีเนื้อหาเกี่ยวกับวิชา ฟิสิกส์ ดังนี้
ปริมาณกายภาพและหน่วย เป็นปริมาณที่สามารถวัดได้ด้วยเครื่องมือโดยตรงหรือโดยอ้อม  เป็นปริมาณที่มีความหมายเฉพาะเจาะจงอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ปริมาตร มวล น้ำหนัก เป็นต้น ปริมาณเหล่านี้จะต้องมีหน่วยกำกับจึงจะมีความหมายชัดเจน เช่น น้ำหนัก มีหน่วยเป็นกรัม หรือกรัม ซึ่งรวมแล้วมีหน่วยได้หลายอย่าง แต่ที่นิยมใช้กันในที่ต่างๆเพื่อให้การใช้หน่วยเป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วโลกโดยเฉพาะในวงการวิทยาศาสตร์ องค์กรระหว่างชาติเพื่อการมาตรฐาน ( ISO หรือ International  Organization for Standardization ) จึงได้กำหนดระบบหน่วยมาตรฐานที่เรียกว่า ระบบหน่วยระหว่างชาติ หรือระบบเอสไอ ให้ทุกประเทศใช้เป็นมาตรฐาน ระบบเอสไอประกอบด้วยหน่วยฐาน และหน่วยอนุพัทธ์

เคมี
                โครงงานบูรณาการ น้ำพริกสารพัดนึก เรื่อง น้ำพริกปลาแก้ว มีเนื้อหาเกี่ยวกับวิชา เคมี ดังนี้
ธาตุและสารประกอบ
                สารเนื้อผสม คือ สารที่มีองค์ประกอบภายในแตกต่างกัน หรือมีเนื้อไม่เหมือนกันทุกส่วน
                สารเนื้อเดียว คือ สารที่มีองค์ประกอบภายในเหมือนกัน มองเห็นเป็นเนื้อเดียวกัน แบ่งออกเป็นสารบริสุทธิ์ และสารละลาย
                สารบริสุทธิ์ คือ สารเนื้อเดียวที่จุดเดือดจุดหลอมเหลวคงที่ แบ่งออกเป็นธาตุและสารประกอบ
-                   ธาตุ เป็นสารบริสุทธิ์ที่ประกอบด้วยอะตอมเพียงชนิดเดียว ได้แก่ ธาตุทุกธาตุในตารางธาตุ เช่น C, S, Cl2, O2
-                   สารประกอบ เกิดจากธาตุตั้งแต่สองชนิดขึ้นไปมารวมกัน โดยมีอัตราส่วนในการรวมกันคงที่แน่นอน เช่น Na2SO4, CO2
                        สารละลาย เป็นสารเนื้อเดียวที่มีสัดส่วนในการรวมกันของธาตุ หรือสารประกอบไม่คงที่  เขียนสูตรที่แน่นอนแทนไม่ได้ มี 3 สถานะ เช่น อากาศ น้ำอัดลม น้ำเชื่อม นาก ทองเหลือง และโลหะผสมทุกชนิด สารละลายแบ่งออกเป็นองค์ประกอบ 2 ส่วน คือ ตัวทำละลาย และตัวถูกละลาย
                คอลลอยด์ คือ สารที่ลักษณะคล้ายกาว
                สมบัติของคอลลอยด์
1.             สามารถกระเจิงแสงได้ เรียกปรากฏการณ์นี้ว่า  ปรากฏการณ์ทินดอลล์
2.             คอลลอยด์ไม่ตกตะกอน
3.             คอลลอยด์มีขนาด 10-7-10-4
               

ชีววิทยา
                โครงงานบูรณาการ น้ำพริกสารพัดนึก เรื่อง น้ำพริกปลาแก้ว มีเนื้อหาเกี่ยวกับวิชา ชีววิทยา ดังนี้
พริก
ตระกูลSolanaceae
ชื่อวิทยาศาสตร์ - Capsicum frutescens L.
ชื่อภาษาอังกฤษ - Chilli peppers, chili, chile หรือ chilli
สรรพคุณ - พริกมีวิตามินซี สูง เป็นแหล่งของกรด ascorbic ซึ่งสารเหล่านี้ ช่วยขยายเส้นโลหิตในลำไส้และกระเพาะอาหารเพื่อให้ดูดซึมอาหารดีขึ้น ช่วยร่างกายขับถ่าย ของเสียและนำธาตุอาหารไปยังเนื้อเยื่อของร่างกาย (tissue) สำหรับพริกขี้หนูสดและพริกชี้ฟ้าของไทย มีปริมาณวิตามิน ซี 87.0 - 90 มิลลิกรัม / 100 g นอกจากนี้พริกยังมีสารเบต้า - แคโรทีนหรือวิตามินเอ สูง (พริกขี้หนูสด 140.77 RE ) พริกยังมีสาระสำคัญอีก 2 ชนิด ได้แก่ Capsaicin และ Oleoresinโดยเฉพาะสาร Capsaicin ที่ นำมาใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร และผลิตภัณฑ์รักษาโรค ในอเมริกามีผลิตภัณฑ์จำหน่ายในชื่อ Cayenne สำหรับฆ่าเชื้อแบคทีเรียในกระเพาะอาหาร สาร Capsaicin ยังมีคุณสมบัติทำให้เกิดรสเผ็ด ลดความเจ็บปวดของกล้ามเนื้อ หัวไหล่ แขน บั้นเอว และส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และมีผลิตภัณฑ์จำหน่ายทั้งชนิดเป็นโลชั่นและครีม ( Thaxtra - P Capsaicin) แต่การใช้ในปริมาณที่มากเกินไป อาจมีผลกระทบต่ออาการหยุดชะงักการทำงานของกล้ามเนื้อได้เช่นกัน เพื่อความปลอดภัย USFDA ได้กำหนดให้ใช้สาร capsaicin ได้ ที่ความเข้มข้น 0.75 % สำหรับเป็นยารักษาโรค
สารเคมีในพริก - ในพริกนั้นมีสารที่สำคัญคือ Capsaicin นอกจากนั้นยังมีสารอื่นๆที่ให้ความเผ็ดอีก คือ Dihydrocapsaicin ,Nordihydrocapsaicin ,Homodihydrocapsaicin และ Homocapsaicin สาร Capsaicin นี้ ถูกค้นพบในรูปผลึกบริสุทธิ์โดย พี เอ บุชธอลซ์ ต่อมา แอล ที เทรชศึกษาสารนี้และให้ชื่อว่า Capsaicin มีสูตรทางเคมีคือ C18H27NO3 ซึ่งมีฤทธิ์ระคายเคืองต่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม โดยทำให้ประสาทรับความรู้สึกไหม้ที่เนื้อเยื่อ กระตุ้นการผลิตเมือกออกมาป้องกันการระคายเคืองและกระตุ้นการหลั่งน้ำย่อยพืชจำพวกพริกนี้จะผลิตสารนี้ออกมาเพื่อป้องกันการถูกบริโภคโดยสัตว์กินพืช โดยสารนี้จะพบในเนื้อเยื่อของผลพริก มากกว่าในเมล็ด นอกจากนี้ยังมีการค้นพบว่าแมงมุมทาแรนทูลาก็มีพิษซึ่งมีส่วนประกอบด้วยเช่นกันของสารนี้เช่นกันสาร capsaicin บริสุทธิ์จะมีลักษณะเป็น คริสตัล หรือ ไขใสๆ ไม่มีกลิ่น และมีคุณสมบัติไม่ชอบน้ำ

หอมแดง
ชื่อวิทยาศาสตร์ - Allium ascalonicum
วงศ์Alliaceae
ลักษณะ - พืชที่มีลำต้นสั้นและฝังอยู่ใต้ดิน ขนาดสูงประมาณ 30 เซนติเมตร กาบใบพองออกเพื่อสะสมอาหาร ลักษณะเป็นช่อคล้ายร่ม ประกอบด้วยดอกย่อยจำนวนมาก กลีบดอกสีขาวอมม่วงมีกลีบดอก 6 กลีบ ออกดอกในช่วงฤดูหนาว
สรรพคุณ - หัวหอม มีรสฉุน ช่วยขับลม ช่วยย่อยและเจริญอาหาร แก้บวมน้ำ แก้อาการอักเสบต่าง ๆ แก้บวมน้ำ ขับพยาธิ ช่วยให้ร่างกายอบอุ่น เมล็ด แก้อาเจียนเป็นเลือด แก้กินเนื้อสัตว์เป็นพิษ ร่างกายซุบผอม(ใช้เมล็ดแห้ง 5-10 กรัมต้มน้ำดื่ม) ตำรายาไทยใช้หัวหอมแดง ผสมรวมกับเหง้าเปราะหอมสุมหัวเด็ก แก้หวัดคัดจมูก และกินเป็นยาขับลม หอมแดงมีสารเคอร์ซิติน และสารฟลาโวนอยด์ (quercetin และ flavonoid glycosides) อาจป้องกันโรคมะเร็งได้  นอกจากนี้ หอมแดงยังมีคุณสมบัติ เป็นยารักษาโรค ใช้ลดไข้และรักษาแผลได้ โดยเอาหัวหอมแดงมาซอยเป็นแว่นๆ ผสมกับน้ำมันมะพร้าวและเกลือ ต้มให้เดือด แล้วนำมาพอกแผล นอกจากนั้นหอมแดง ยังช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด และยับยั้งเส้นเลือดอุดตัน ด้วยการบริโภคสด หรือประกอบอาหาร หรือบริโภคชนิดผง
คุณค่าด้านอาหาร - คุณค่าทางอาหารของหอมแดง ในส่วนที่รับประทานได้ 100 กรัม คือ มีน้ำเป็นส่วนประกอบ 88 กรัม โปรตีน 1.5 กรัม ไขมัน 0.3 กรัม คาร์โบไฮเดรต 9 กรัม ใยอาหาร 0.7 กรัม เถ้า ( ash ) 0.6 กรัม แคลเซียม 36 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 40 มิลลิกรัม เหล็ก 0.8 มิลลิกรัม วิตามินเอ 5 หน่วยสากล ( I.U. ) วิตามินบี1 0.03 มิลลิกรัม วิตามินซี 2 มิลลิกรัม พลังงาน 160 Kj คุณภาพของหอมแดงขึ้นอยู่กับของแข็ง
( Solids ) ที่ละลายน้ำได้ และให้กลิ่นหอม เมื่อนำไปทอด หอมแดงจะมี soluble solid อยู่ระหว่าง 15-20 Brix เป็นส่วนประกอบของกรดแอมิโน S-allkyl cysteine sulphoxides ที่ให้ทั้งรสชาติ และกลิ่นฉุนของหอม

มะกรูด
ชื่อวิทยาศาสตร์ - Cymbopogon citratus (DC.) Staph
ชื่อท้องถิ่น - จะไคร (ภาคเหนือ) ไคร (ภาคใต้) คาหอม (แม่ฮ่องสอน) เชิดเกรย ,เหลอะเกรย(เขมร-สุรินทร์), ห่อวอตะโป่(กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)
ลักษณะทั่วไป - เป็นพืชล้มลุก ความสูงประมาณ 4-6 ฟุต ใบยาวเรียว ปลายใบมีขนหนาม ลำต้นรวมกันเป็นกอ มีกลิ่นหอม ดอกออกเป็นช่อยาวมีดอกเล็กฝอยเป็นจำนวนมาก ตะไคร้เป็นพืชที่สามารถนำส่วนต้นหัวไปประกอบอาหาร และจัดเป็นพืชสมุนไพรด้วย
ถิ่นกำเนิด  - ตะไคร้มีถิ่นกำเนิด ในประเทศอินโดนีเซีย ศรีลังกา พม่า อินเดีย ไทย และในทวีปอเมริกาใต้
สรรพคุณ - ทั้งต้น ใช้เป็นยารักษาโรคหืด แก้ปวดท้อง ขับปัสสาวะและแก้อหิวาตกโรค หรือทำเป็นยาทานวดก็ได้ และยังใช้รวมกับสมุนไพรชนิดอื่นรักษาโรคได้ เช่น บำรุงธาตุ เจริญอาหาร และขับเหงื่อ
หัว เป็นยารักษาเกลื้อน แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แก้ปัสสาวะพิการ แก้นิ่ว บำรุงไฟธาตุ แก้อาการขัดเบา ถ้าใช้รวมกับสมุนไพรชนิดอื่น จะเป็นยาแก้อาเจียน แก้ ทราง ยานอนหลับลดความดันสูง แก้ลมอัมพาต แก้กษัยเส้น และแก้ลมใบ ใบสด ๆ จะช่วยลดความดันโลหิตสูง แก้ไข้ราก ใช้เป็นยาแก้ไข้เหนือ ปวดท้องและท้องเสีย
ต้น ใช้เป็นยาแก้ขับลม แก้เบื่ออาหาร แก้ผมแตก แก้โรคทางเดินปัสสาวะ นิ่ว เป็นยาบำรุงไฟธาตุให้เจริญ แต่ถ้าเอาผสมกับสมุนไพรชนิดอื่น จะแก้โรคหนองใน และนอกจากนี้ยังใช้ดับกลิ่นคาวด้วย


3.   วิชาสังคมศึกษา
                  โครงงานบูรณาการ น้ำพริกสารพัดนึก เรื่อง น้ำพริกปลาแก้ว มีเนื้อหาเกี่ยวกับวิชา สังคมศึกษา
 ดังนี้
                ภูมิปัญญาไทย
                       ภูมิปัญญา หมายถึง พื้นฐานความรู้ความสามารถ ความคิด ความเชื่อ ความสามารถทางพฤติกรรม ความสามารถในการแก้ไขปัญหา โดยใช้ประสบการณ์ที่สั่งสมไว้ในการปรับตัว และดำรงชีพในสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ โดยใช้ประสบการณ์ที่สั่งสมไว้ในการปรับตัว และดำรงชีพในสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมทางสังคมและวัฒนธรรมที่ได้มีการพัฒนาสืบสานกันมา อันเป็นผลของการใช้สติปัญญาปรับตัวให้เข้ากับสภาพต่าง ๆ ในพื้นที่ที่กลุ่มชนเหล่านั้นตั้งถิ่นฐานอยู่ รวมทั้งได้มีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกับกลุ่มอื่น ดังนั้นภูมิปัญญาไทย จึงหมายถึง องค์ความรู้ในด้านต่าง ๆ ของการดำรงชีวิตของคนไทยที่เกิดจากการสั่งสมประสบการณ์ทั้งทางตรง และทางอ้อม ที่ประกอบด้วยแนวคิดในการแก้ปัญหาของตนเองจนเกิดการหลอมรวมเป็นแนวความคิดสำหรับแก้ปัญหาที่มีลักษณะเฉพาะของตนเอง ซึ่งสามารถพัฒนาความรู้ดังกล่าว แล้วนำมาประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาและการดำรงชีวิตได้อย่างเหมาะสมตามกาลเวลา
ประเภทของภูมิปัญญาท้องถิ่น
                ภูมิปัญญาท้องถิ่นมีมากมายหลายแขนง แต่มักจะถูกมองว่าล้าหลังคนบางกลุ่มจึงไม่ค่อยให้ความนิยมและสืบสานกันมากนัก ส่วนใหญ่แล้วภูมิปัญญาท้องถิ่นมักสืบทอดบอกกล่าวกันเป็นการภายใน เช่น สูตรทำอาหาร หรือตำรับตำราต่าง ๆ ทำให้ไม่เป็นที่รับรู้กันโดยทั่วไป อาจจำแนกภูมิปัญญาท้องถิ่นออกเป็น 10 ลักษณะได้ดังนี้
1.              ภูมิปัญญาที่เกี่ยวกับความเชื่อและศาสนา - ภูมิปัญญาประเภทนี้จะมีลักษณะที่แตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น เนื่องจากมีพื้นฐานทางความเชื่อในศาสนาที่แตกต่างกัน สำหรับภูมิปัญญาท้องถิ่นของไทยซึ่งเกี่ยวกับความเชื่อในทางพระพุทธศาสนาเป็นหลักนั้นได้มีส่วนสร้างสรรค์สังคม โดยการผสมผสานกับความเชื่อดังเดิมจนกลายเป็นลักษณะเฉพาะของแต่ละท้องถิ่น
2.              ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวกับประเพณีและพิธีกรรม - เนื่องจากประเพณีและพิธีกรรมเป็นสิ่งที่ดีงามที่คนในท้องถิ่นสร้างขึ้นมา โดยเฉพาะเป็นการเพิ่มขวัญและกำลังใจคนในสังคม ภูมิปัญญาประเภทนี้จึงมีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตในสังคมเป็นอย่างมากดังจะเห็นได้จากประเพณีและพิธีกรรมที่สำคัญในประเทศไทยล้วนเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตของคนในสังคมแทบทั้งสิ้น
3.              ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวกับศิลปะพื้นบ้าน - เป็นการสร้างสรรค์งานศิลปต่างๆโดยการนำทรัพยากรที่มีอยู่มาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันหลังจากนั้นได้สืบทอดโดยการพัฒนาอย่างไม่ขาดสายกลายเป็นศิลปะที่มีคุณค่าเฉพาะถิ่น
4.              ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวกับอาหารและผักพื้นบ้าน - นอกจากมนุษย์จะนำอาหารมาบริโภคเพื่อการอยู่รอดแล้ว มนุษย์ยังได้นำเทคนิคการถนอมอาหารและการปรุงอาหารมาใช้ เพื่อให้อาหารที่มีมากเกินความต้องการสามารถเก็บไว้บริโภคได้เป็นเวลานานซึ่งถือว่าเป็นภูมิปัญญาอีกประเภทหนึ่งที่สำคัญต่อการดำรงชีวิต นอกจากนี้ยังนำผักพื้นบ้านชนิดต่างๆมาบริโภคอีกด้วย
5.              ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวกับการละเล่นพื้นบ้าน - การละเล่นถือว่าเป็นการผ่อนคลายโดยเฉพาะในวัยเด็กซึ่งชอบความสนุกสนานเพลิดเพลิน ภูมิปัญญาท้องถิ่นของไทยส่วนใหญ่จะใช้อุปกรณ์ในการละเล่นที่ประดิษฐ์มาจากธรรมชาติซึ่งแสดงให้เห็นวิถีชีวิตที่ผูกพันกับธรรมชาติ และรู้จักปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมอย่างกลมกลืน
6.              ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรม - ประเทศไทยมีวัฒนธรรมที่หลากหลาย ซึ่งเกิดจากการสร้างสรรค์ของแต่ละภาคเราสามารถพบหลักฐานจากร่องรอยของศิลปวัฒนธรรมที่ปรากฏกระจายอยูทั่วไป เช่น สถาปัตยกรรม ประติมากรรม จิตรกรรม เป็นต้น ซึ่งแสดงให้เห็นถึงเทคนิค ความคิด ความเชื่อของบรรพบุรุษเป็นอย่างดี
7.              ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวกับเพลงพื้นบ้าน - ภูมิปัญญาประเภทนี้ส่วนมากแสดงออกถึงความสนุกสนาน และยังเป็นคติสอนใจสำหรับคนในสังคม ซึ่งมีส่วนแตกต่างกันออกไปตามโลกทัศน์ของคนในภาคต่างๆ
8.              ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวกับสมุนไพรและตำรายาพื้นบ้าน - ภูมิปัญญาประเภทนี้เกิดจากการสั่งสมประสบการณ์ของคนในอดีตและถ่ายทอดให้กับคนรุ่นหลังถือว่ามีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะถือว่าเป็นปัจจัยสี่ ซึ่งมีความจำเป็นสำหรับมนุษย์ หากได้รับการพัฒนาหรือส่งเสริมจะเป็นประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคมในอนาคตได้
9.              ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวกับการประดิษฐกรรม - เทคโนโลยีและสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ ที่เกิดจากภูมิปัญญาของคนไทยในแต่ละภาคนั้นถือเป็นการประดิษฐกรรมและหัตถกรรมชั้นเยี่ยม ซึ่งปัจจุบันไม่ได้รับความสนใจในการพัฒนาและส่งเสริมภูมิปัญญาประเภทนี้เท่าที่ควร หากมีการเรียนรู้และสืบทอดความคิดเกี่ยวกับการประดิษฐกรรมและหัตถกรรมให้แก่เยาวชน จะเป็นการรักษาภูมิปัญญาของบรรพชนได้อีกทางหนึ่ง
10.       ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวกับการดำรงชีวิตตามสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ - เนื่องจากคนไทยมีอาชีพที่เกี่ยวกับเกษตรกรรมโดยเฉพาะการทำนา ทำไร่ จึงทำให้เกิดภูมิปัญญาที่เกี่ยวกับความเชื่อและพิธีกรรมในการดำรงชีวิตเพื่อแก้ปัญหาหรืออ้อนวอนเพื่อให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ในการเพาะปลูกและเพื่อเพิ่มผลิตผลทางการเกษตรดังจะเห็นได้จากพิธีกรรมที่เกี่ยวกับการเกษตรทั่วทุกภูมิภาคของไทย


               


4.   ภาษาไทย
                โครงงานบูรณาการ น้ำพริกสารพัดนึก เรื่อง น้ำพริกปลาแก้ว มีเนื้อหาเกี่ยวกับวิชา ภาษาไทย ดังนี้
เรียงความ
มี 3 ส่วน คือ คำนำ เนื้อเรื่อง และสรุป
คำนำ - เป็นส่วนแรกของเรียงความ ทำหน้าที่เปิดประเด็น ดึงดูดความสนใจ พิถีพิถัน คำนึงถึงเรื่องที่ตนจะเขียน เน้นศิลปะในการใช้ภาษา
การเขียนคำนำ ควรยึดแนวทางต่อไปนี้
-                   ไม่ยืดยาด เยิ่นเยื้อ
-                   ไม่ควรกล่าวถึงสิ่งที่ไม่เกี่ยวกับเนื้อเรื่อง
-                   ไม่ควรซ้ำกับส่วนสรุปหรือความลงท้าย
-                   อาจหาคำคม สำนวน สุภาษิต หรือบทกวีที่ไพเราะและเกี่ยวกับเนื้อเรื่องมาเป็นคำนำก็ได้
เนื้อเรื่อง -  เป็นส่วนสำคัญและยาวที่สุดของเรียงความ ประกอบด้วย ความรู้ ความคิด และข้อมูลที่ผู้เขียนค้นคว้า และเรียบเรียงอย่างเป็นระบบ ระเบียบ การเขียนเนื้อเรื่องเป็นการขยายความในประเด็นต่าง ๆ ตามโครงเรื่องที่วางไว้ล่วงหน้าแล้ว ในการเขียนอาจมีการยกตัวอย่าง การอธิบาย การพรรณนา หรือยกโวหารต่าง ๆ มาประกอบด้วย โดยอาจจะมีย่อหน้าหลายย่อหน้าก็ได้
การเขียนเนื้อเรื่องควรยึดแนวทางต่อไปนี้
  • ความถูกต้อง แจ่มแจ้งสมบูรณ์ ผู้อ่านสามารถเข้าใจเจตนารมณ์ของผู้เขียนได้เป็นอย่างดี ซึ่งเรียกว่ามีสารัตถภาพ
  • ใจความสำคัญแต่ละย่อหน้า จะต้องมีเพียงใจความเดียว ไม่ออกนอกเรื่อง สับสน วกวน ซึ่งเรียกว่ามีเอกภาพ
  • เนื้อหาในแต่ละย่อหน้าจะต้องมีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกันโดยตลอด ย่อหน้าที่มาหลังจะต้องเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กับย่อหน้าที่มาก่อน ซึ่งเรียกว่ามีสัมพันธภาพ
สรุป -  เป็นส่วนสุดท้าย หรือย่อหน้าสุดท้ายในเรียงความแต่ละเรื่อง ผู้เขียนจะทิ้งท้ายให้ผู้อ่านเกิดความประทับใจ สอดคล้องกับเรื่องที่เขียน กระชับรัดกุม ซึ่งการเขียนสรุปมีหลายวิธี เช่น ฝากข้อคิด และความประทับใจให้ผู้อ่านย้ำความคิดสำคัญของเรื่อง ชักชวนให้ปฏิบัติตาม ให้กำลังใจแก่ผู้อ่าน ตั้งคำถามที่ชวนให้ผู้อ่านคิดหาคำตอบ และยกคำพูด คำคม สุภาษิต หรือบทกวีที่น่าประทับใจ เป็นต้น การเขียนสรุปควรยึดแนวทางต่อไปนี้
  • เขียนสั้น ๆ ไม่เยิ่นเยื้อ (ความยาวควรจะเท่า ๆ กับคำนำ)
  • อาจสรุปโดยการอ้อนวอน เชิญชวนหรือแสดงความคิดเห็น
  • ควรหลีกเลี่ยงคำขออภัย หรือคำออกตัวว่าผู้เขียนไม่มีความรู้
  • ไม่ควรเสนอประเด็นใหม่เข้ามาอีก
5.   วิชาภาษาอังกฤษ
                 โครงงานบูรณาการ น้ำพริกสารพัดนึก เรื่อง น้ำพริกปลาแก้ว มีเนื้อหาเกี่ยวกับวิชา ภาษาอังกฤษดังนี้
Defination of Nam Phrik
                Nam phrik generally pronounced “nam phrik” is a generic term that may refer to any of the types of more or less thick, spicy, chili-based hot sauces typical of Thai cuisine. Usual ingredients for nam phrik are fresh or dry chilies, garlic, shallots. Lime juice and often some kind of fish or shrimp paste. In the traditional way of preparing the sauce. The ingredients are pounded together using a mortar and pestle, with either salt or fish sauce added to tastc
                Nam phrik is normally served on small saucers placed by the main dish as a condiment or dip for bland preparations. Such as raw or boiled green, fish, poultry and meats. Depending on the type. The region and the family that prepares it, nam phrik may vary in texture from a liquid to a paste to an almost dry, granulous or powdery consistency
                Instead of khrueng kaeng or phrik kaeng, the words nam phrik can also as be used to denote Thai curry pastes such as in nam phrik kaeng som for kaeng phet.
History
                The first Westerner to report of nam phrik was Simon de le Loubere. As the French ambassador to the court of Ayutthaya in 1687/1688 CE he notes that it contains a mustard like sauce, which consisted of Cray Fish corrupted (fermented fish); which they called krapi” King Chulalongkorn, regarded as one of the greatest king of Thailand, repeatedly stated during his tour of Europe in 1907 CE that, besides khai vhiew, he most missed nam phrik. The chef David thompsom, an acknowledged expert on thai cuisine, writes They are at the very core of Thai cooking and have fed the Thai from their distant past to the present”
                Chili peppers originate from the Americas , where they have been cultivated for over 6,000 years , and were probably introduced to Asia and Thailand  in then 16th century CE by Portuguese emissaries and traders in what is known as the Columbian Exchange. Before chili peppers were known and enthusiastically embraeed in Thai cuisine, other spies such as black peppers, long pepper, and Sichuan peper were used instesd to achieve the desiredspiciness”

               



6.   วิชาศิลปะ
                โครงงานบูรณาการ น้ำพริกสารพัดนึก เรื่อง น้ำพริกปลาแก้ว มีเนื้อหาเกี่ยวกับวิชา ศิลปะ ดังนี้

เพลง น้ำพริกปลาแก้ว
                พ.ศ.2555 เจนจิราตีกลองประชุม พวกเราก็มาชุมนุม มาประชุมที่โรงเรียน ต่อไปนี้เจนจิราจะขอกล่าว ถึงเรื่องราวที่ได้รับฟังมา โรงเรียนเขาสั่งการว่า(ซ้ำ) ให้พวกเรามาบูรณาการเอย เรื่องราวที่นำมาเอ่ย เราก็คุ้นเคยน้ำพริกนั่นไง ปลาแก้วเรานำมาใช้(ซ้ำ) ผสมในน้ำพริกเอย เครื่องปรุง ส่วนผสม ส่วนประกอบ ไม่ยากหรอกถ้าพวกเราตั้งใจฟัง ปลาแก้ว พริกป่น นำมาทำ(ซ้ำ) เกลือป่น น้ำตาล หัวหอม กระเทียมเจียว รสดีตะไคร้ใบมะกรูด น้ำมันพืชอย่าลืมเชียว เพราะมันใช้เจียว กระเทียม หอมหัวแดง ต่อไปนี้จะกล่าวถึงวิธีการทำ
ท่ารำ
1.             สอดสร้อยมาลา
2.             ชักแป้งผัดหน้า
3.             ประสานงา
4.             รำส่าย
5.             ยูงฟ้อนหาง

               

                                                                                                                                                                                               












7.   วิชาสุขศึกษาและพลศึกษา
                โครงงานบูรณาการน้ำพริกสารพัดนึก เรื่อง น้ำพริกปลาแก้ว มีเนื้อหาเกี่ยวกับวิชา สุขศึกษาและพลศึกษา ดังนี้
                ใบความรู้ที่  เรื่อง อาหาร  5  หมู่
อาหาร
       อาหาร คือ สิ่งที่มีประโยชน์เมื่อร่างกายกินเข้าไปก็สามารถย่อย ดูดซึม และนำไปใช้ประโยชน์ได้ดังนั้นในวันหนึ่ง ๆ เราควรกิน อาหารให้ครบ 5 หมู่ ได้แก่
                หมู่ที่ 1 เนื้อสัตว์ ไข่ นม ถั่ว
                หมู่ที่
2 ข้าว แป้ง น้ำตาล เผือก มัน
                หมู่ที่
3 ผักใบเขียวต่าง ๆ
                หมู่ที่
4 ผลไม้ต่าง ๆ
                หมู่ที่
5 ไขมันและน้ำมัน
อาหาร    หมู่ที่ 1 เนื้อ นม ไข่ และถั่วต่าง ๆ
                อาหารหมู่ที่ 1 เนื้อสัตว์ ไข่ นม และถั่วต่าง ๆ อาหารหมู่นี้ส่วนใหญ่จะให้โปรตีน ประโยชน์ที่สำคัญคือ ทำให้ร่างกายเจริญเติบโต ทำให้ร่างกายแข็งแรง มีภูมิต้านทานโรค นอกจากนี้ยังช่วยซ่อมแซมส่วนต่าง ๆ ของร่างกายที่สึกหรอจากบาดแผล อุบัติเหตุ หรือจากการเจ็บป่วยอาหารหมู่นี้จะถูกนำไปสร้างกระดูก กล้ามเนื้อ เลือด เม็ดเลือด ผิงหนัง น้ำย่อย ฮอร์โมน ตลอดจนภูมิต้านทานเชื้อโรคต่าง ๆ จึงถือได้ว่าอาหารหมูนี้เป็นอาหารหลักที่สำคัญในการสร้างโครงสร้างของร่างกายในการเจริญเติบโต และทำให้อวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายทำงานได้เป็นปกติอาหารในหมู่นี้ ได้แก่ นม ไข่ เนื้อ หมู วัว ตับ ปลา ไก่ และถั่วต่าง ๆ เช่น ถั่วเหลือง ถั่วเขียว หรือผลิภัณฑ์จากถั่ว  เช่น นมถั่วเหลือง เต้าหู้ เป็นต้น
หมู่ที่ 2 ข้าว แป้ง น้ำตาล เผือก มัน

                หมู่ที่ 2 ข้าว แป้ง น้ำตาล เผือก มัน จะให้สารอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต ซึ่งจะให้พลังงานแก่ร่างกาย ทำให้ร่างกายสามารถทำงานได้ และยังให้ความอบอุ่นแก่ร่างกายอีกด้วย พลังงานที่ได้จากหมู่นี้ส่วนใหญ่จะใช้ให้หมดไปวันต่อวัน เช่น ใช้ในการเดิน ทำงาน การออกกำลังกายต่าง ๆ แต่ถ้ากินอาหารหมู่นี้มากจนเกินความต้องการของร่างกาย ก็จะถูกเปลี่ยนเป็นไขมัน และทำให้เกิดโรคอ้วนได้ อาหารที่สำคัญของหมู่นี้ ได้แก่ ข้าว แป้งและผลิตภัณฑ์ที่ได้จากแป้ง  เช่น ก๋วยเตี๋ยวรวมทั้งเผือก มันต่าง ๆ น้ำตาลที่ทำมาจากอ้อยและมาจากน้ำตาลมะพร้าว
อาหารหมู่ที่ 3 ผักต่าง ๆ
                หมู่ที่ 3 อาหารหมู่นี้จะให้วิตามินและเกลือแร่แก่ร่างกาย ช่วยเสริมสร้างทำให้ร่างกายแข็งแรง มีแรงต้านทานเชื้อโรค และช่วยให้อวัยวะต่าง ๆ ทำงานได้อย่างเป็นปกติอาหารที่สำคัญของหมู่นี้ คือ ผักต่าง ๆ เช่น ตำลึง ผักบุ้ง ผักกาด และผักใบเขียวอื่น ๆ นอกจากนั้นยังรวมถึงพืชผักอื่น ๆ เช่น มะเขือ ฟักทอง ถั่วฝักยาว เป็นต้นนอกจากนั้นอาหารหมู่นี้จะมีกากอาหารที่ถูกขับถ่ายออกมาเป็นอุจจาระทำให้ลำไส้ทำงานเป็นปกติ
อาหารหมู่ที่ 4 ผลไม้ต่าง ๆ
                อาหารหมู่ที่ 4 ผลไม้ต่าง ๆ จะให้วิตามินและเกลือแร่ ช่วยทำให้ร่างกายแข็งแรง มีแรงต้านทานโรค และมีกากอาหารช่วยทำให้การขับถ่ายของลำไส้เป็นปกติอาหารที่สำคัญ ได้แก่ ผลไม้ต่าง ๆ เช่น กล้วย มะละกอ ส้ม มังคุด ลำไย เป็นต้น
หมู่ที่
5 ไขมันและน้ำมัน
                หมู่ที่ 5 ไขมันและน้ำมัน จะให้สารอาหารประเภทไขมันมาก จะให้พลังงานแก่ร่างกาย ทำให้ร่างกายเจริญเติบโต ร่างกายจะสะสมพลังงานที่ได้จากหมู่นี้ไว้ใต้ผิวหนังตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น บริเวณสะโพก ต้นขา เป็นต้น ไขมันที่สะสมไว้เหล่านี้จะให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย และให้พลังงานที่สะสมไว้ใช้ในเวลาที่จำเป็นระยะยาวอาหารที่สำคัญ ได้แก่ ไขมันจากสัตว์ เช่น น้ำมันหมู ไขมันที่ได้จากพืช เข่น กะทิมะพร้าว น้ำมันรำ น้ำนมถั่วเหลือง  น้ำมันปาล์ม เป็นต้น นอกจากนั้นจะมีไขมันที่แทรกอยู่ในเนื้อสัตว์ต่าง ๆ ด้วย
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
ใบความรู้ที่ เรื่อง  โภชนาการ อาหาร และสารอาหาร

   ความหมายของโภชนาการ อาหาร และสารอาหาร
                โภชนาการ  (nutrition) หมายถึง อาหาร (food) ที่เข้าสู่ร่างกายคนแล้ว ร่างกายสามารถนำไปใช้เป็นประโยชน์ในด้านการเจริญเติบโต การค้ำจุนและการซ่อมแซมส่วนต่างๆของร่างกาย โภชนาการมีความหมายกว้างกว่าและ ต่างจากคำว่าอาหาร  เพราะอาหารที่กินกันอยู่ทุกวันนี้มีดีเลวต่างกัน อาหารหลายชนิดที่กินแล้วรู้สึกอิ่ม แต่ไม่มีประโยชน์ หรือก่อโทษต่อร่างกายได้
          ถ้านำเอาอาหารต่างๆมาวิเคราะห์ จะพบว่ามีสารประกอบอยู่มากมายหลายชนิด โดยอาศัยหลักคุณค่าทางโภชนาการทำให้มีการจัดสารประกอบต่างๆ ในอาหารออกเป็น ๖ ประเภท คือ โปรตีน (protein) คาร์โบไฮเดรต (carbohydrate) ไขมัน (fat) วิตามิน (vitamin) เกลือแร่ (mineral) และน้ำ สารประกอบทั้ง ๖ กลุ่มนี่เองที่เรียกว่า "สารอาหาร" (nutrient)  ร่างกายประกอบด้วยสารอาหารเหล่านี้ และการทำงานของร่างกายจะเป็นปกติอยู่ได้ก็ต่อ
เมื่อได้สารอาหารทั้ง ๖ ประเภทครบถ้วน



       โปรตีน

          โปรตีนเป็นสารอาหารชนิดหนึ่งที่ร่างกายขาดไม่ได้  ถ้านำเอาโปรตีนมาวิเคราะห์ทางเคมี จะพบว่าประกอบด้วยสารเคมีจำพวกหนึ่งเรียกว่า กรดอะมิโน (amino acid) ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 พวก คือ
          1. กรดอะมิโนจำเป็น เป็นกรดอะมิโนที่ร่างกายสร้างไม่ได้  ต้องได้จากอาหารที่กินเข้าไปเท่านั้น กรดอะมิโนที่อยู่ในกลุ่มนี้มีอยู่ ๙ ตัว คือ ฮิสติดีน (histidine) ไอโซลิวซีน (isoleucine) ลิวซีน (leucine) ไลซีน (lysine) เมไทโอนีน (methionine) เฟนิลอะลานีน (phenylalanine) ทรีโอนีน (threonine) ทริปโตเฟน (tryptophan) และวาลีน (valine)
          2. กรดอะมิโนไม่จำเป็น เป็นกรดอะมิโนที่นอกจากได้จากอาหารแล้ว ร่างกายยังสามารถสร้างได้ เช่น อะลานีน (alanine) อาร์จินีน (arginine)  ซีสเตอีน (cysteine) โปรลีน (proline) และไทโรซีน (tyrosine) เป็นต้น
          เมื่อโปรตีนเข้าสู่ลำไส้  น้ำย่อยจากตับอ่อนและลำไส้จะย่อยโปรตีนจนเป็นกรดอะมิโนซึ่งดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย  ร่างกายนำเอากรดอะมิโนเหล่านี้ไปสร้างเป็นโปรตีนมากมายหลายชนิด  โปรตีนแต่ละชนิดมีส่วนประกอบและการเรียงตัวของกรดอะมิโนแตกต่างกันไป
    หน้าที่ของโปรตีน

          โปรตีนมีบทบาทสำคัญต่อร่างกายอยู่ 6 ประการ  คือ
          1. เป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตไขมันและคาร์โบไฮเดรตไม่สามารถทดแทนโปรตีนได้เพราะไม่
มีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบ
          2. เมื่อเติบโตขึ้น ร่างกายยังต้องการโปรตีนเพื่อนำไปซ่อมแซมเนื้อเยื่อต่างๆที่สึกหรอไปทุกวัน
          3. ช่วยรักษาดุลน้ำ โปรตีนที่มีอยู่ในเซลล์และหลอดเลือด ช่วยรักษาปริมาณน้ำในเซลล์  และหลอดเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่พอเหมาะ ถ้าร่างกายขาดโปรตีน น้ำจะเล็ดลอดออกจากเซลล์และหลอดเลือดเกิดอาการบวม
          4. กรดอะมิโนส่วนหนึ่งถูกนำไปสร้างเป็นฮอร์โมน เอนไซม์ สารภูมิคุ้มกัน และโปรตีนชนิดต่างๆ ซึ่งแต่ละตัวมีหน้าที่แตกต่างกันไป และมีส่วนทำให้ปฏิกิริยาต่างๆ ในร่างกายดำเนินต่อไปได้ตามปกติ
          5. รักษาดุลกรด-ด่างของร่างกาย เนื่องจากกรดอะมิโนมีหน่วยคาร์บอกซีล (carboxyl) ซึ่งมีฤทธิ์เป็นกรด  และหน่วยอะมิโนมีฤทธิ์เป็นด่าง โปรตีนจึงมีสมบัติรักษาดุลกรด-ด่าง ซึ่งมีความสำคัญต่อปฏิกิริยาต่างๆภายในร่างกาย
          6. ให้กำลังงาน โปรตีน 1 กรัมให้กำลังงาน 4 กิโลแคลอรี อย่างไรก็ตาม ถ้าร่างกายได้กำลังงานจากคาร์โบไฮเดรตและไขมันเพียงพอ จะสงวนโปรตีนไว้ใช้ในหน้าที่อื่น

          อาหารที่ให้โปรตีน

          อาจแบ่งโปรตีนตามแหล่งอาหารที่ให้โปรตีนออกเป็น 2 พวก คือ โปรตีนจากสัตว์และโปรตีนจากพืช  เมื่อพิจารณาถึงคุณค่าทางโภชนาการของอาหารที่ให้โปรตีน  ต้องคำนึงถึงทั้งปริมาณและคุณภาพ  คือ ดูว่าอาหารนั้นมีโปรตีนมากน้อยเพียงใด และมีกรดอะมิโนจำเป็นครบถ้วนหรือไม่ อาหารที่ให้โปรตีน น้ำหนักส่วนหนึ่งเท่านั้นที่เป็นโปรตีน และจากตารางจะเห็นว่าอาหารแต่ละชนิดมีโปรตีนไม่เท่ากัน โปรตีนจากนมและไข่ถือว่ามีคุณค่าทางโภชนาการยอดเยี่ยม เพราะมีกรดอะมิโนจำเป็นครบถ้วน  ส่วนโปรตีนจากธัญพืชนอกจากมีปริมาณต่ำกว่าในเนื้อสัตว์และไข่แล้ว ยังมีความบกพร่องในกรดอะมิโนจำเป็นบางชนิด  เช่น  ข้าวขาดไลซีนและทรีโอนีน ข้าวสาลีขาดไลซีน ข้าวโพดขาดไลซีนและทริปโตเฟน  ส่วนถั่วเมล็ดแห้ง แม้ว่าจะมีปริมาณโปรตีนสูง   แต่มีระดับเมไทโอนีนต่ำ  อย่างใดก็ตามโปรตีนจากพืชยังมีความสำคัญ เพราะราคาถูกกว่าโปรตีนจากสัตว์ และเป็นอาหารหลักของประชาชนในประเทศที่กำลังพัฒนา   เพียงแต่ว่าต้องทำให้ประชาชนได้โปรตีนจากสัตว์เพิ่มขึ้น เพราะจะทำให้เพิ่มทั้งปริมาณและคุณภาพของโปรตีนที่รับประทานในแต่ละวัน

          ความต้องการโปรตีน

          คนเราต้องการโปรตีนในแต่ละวันมากน้อยเพียงใด ขึ้นกับปัจจัย 2 ประการ คือ อาหารที่กินมีปริมาณและคุณภาพของโปรตีนอย่างไร และตัวผู้กินอายุเท่าไร  ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตรอยู่หรือเปล่า  ตลอดจนมีอาการเจ็บป่วยอยู่หรือไม่  ความต้องการของโปรตีนลดลงตามอายุ  เมื่อแรกเกิดเด็กต้องการโปรตีนวันละประมาณ 2.2  กรัมต่อน้ำหนักตัวหนึ่งกิโลกรัม  ความต้องการดังกล่าวนี้ลดลงเรื่อยๆ จนกระทั่งตั้งแต่อายุ 19 ปีขึ้นไป  ต้องการโปรตีนเพียง 0.8  กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน ที่เป็นเช่นนี้เพราะเด็กต้องการโปรตีนไปสร้างเนื้อเยื่อต่างๆในการเจริญเติบโต  ส่วนผู้ใหญ่แม้ว่าการเจริญเติบโตหยุดแล้ว  แต่ยังต้องการโปรตีนไว้ซ่อมแซมส่วนต่างๆ  ที่สึกหรอไป ส่วนหญิงตั้งครรภ์ต้องการโปรตีนเพิ่มขึ้นอีกวันละ 30 กรัม เพื่อนำไปใช้สำหรับแม่และลูกในครรภ์  แม่ที่ให้นมลูกต้องกินโปรตีนเพิ่มอีกวันละ 20 กรัม เพราะการสร้างน้ำนมต้องอาศัยโปรตีนจากอาหาร



คาร์โบไฮเดรต

          คาร์โบไฮเดรต จัดเป็นสารอาหารชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยธาตุคาร์บอน ไฮโดรเจน และออกซิเจน ในแต่ละโมเลกุลของคาร์โบไฮเดรตมีไฮโดรเจนและออกซิเจนอยู่ในอัตราส่วนสองต่อหนึ่ง   สูตรทั่วไปของคาร์โบไฮเดรตคือ Cn H2n On

          คาร์โบไฮเดรตแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
          1. โมโนแซ็กคาไรด์ (monosaccharide) เป็นคาร์โบไฮเดรตที่มีโมเลกุลเล็กที่สุด  เมื่อกินแล้วจะดูดซึมจากลำไส้ได้เลย ไม่ต้องผ่านการย่อย ตัวอย่างของน้ำตาลประเภทนี้ได้แก่ กลูโคส (glucose) และฟรักโทส (fructose) ทั้งกลูโคสและฟรักโทสเป็นน้ำตาลที่พบได้ในผัก ผลไม้ และน้ำผึ้ง น้ำตาลส่วนใหญ่ที่พบในเลือด คือ กลูโคส ซึ่งเป็นตัวให้กำลังงานที่สำคัญ
          2. ไดแซ็กคาไรด์ (disaccharide)  เป็นคาร์โบไฮเดรตที่ประกอบด้วยโมโนแซ็กคาไรด์ ๒ ตัวมารวมกันอยู่
เมื่อกินไดแซ็กคาไรด์เข้าไป น้ำย่อยในลำไส้เล็กจะย่อยออกเป็นโมโนแซ็กคาไรด์ก่อน ร่างกายจึงสามารถนำไปใช้เป็นประโยชน์ได้  ไดแซ็กคาไรด์ที่สำคัญทางด้านอาหาร  คือ แล็กโทส (lactose)  และซูโครส  (sucrose)  แล็กโทสเป็นน้ำตาลที่พบในน้ำนม แต่ละโมเลกุลประกอบด้วยกลูโคส  และกาแล็กโทส (galactose) ส่วนน้ำตาลทรายหรือซูโครสนั้น พบอยู่ในอ้อยและหัวบีต แต่ละโมเลกุล ประกอบด้วย กลูโคสและฟรักโทส
          3. พอลีแซ็กคาไรด์  (polysaccharide) เป็นคาร์โบไฮเดรตที่มีขนาดโมเลกุลใหญ่  และมีสูตรโครงสร้างซับซ้อน  ประกอบด้วยโมโนแซ็กคาไรด์จำนวนมากมารวมตัวกันอยู่   พอลีแซ็กคาไรด์ที่สำคัญทางอาหาร  ได้แก่ ไกลโคเจน (glycogen) แป้ง (starch) และเซลลูโลส (cellulose) ไกลโคเจนพบในอาหารพวกเนื้อสัตว์และเครื่องในสัตว์ ส่วนแป้งและเซลลูโลสพบในพืช แม้ว่าไกลโคเจน แป้ง และเซลลูโลสประกอบด้วยกลูโคสเหมือนกัน แต่ลักษณะการเรียงตัวของกลูโคสต่างกันทำให้ลักษณะสูตรโครงสร้างต่างกันไป เฉพาะไกลโคเจนและแป้งเท่านั้นที่น้ำย่อยในลำไส้สามารถย่อยได้  น้ำตาลประเภทโมโนแซ็กคาไรด์และไดแซ็กคาไรด์เป็นน้ำตาลที่มีรสหวาน แต่มี รสหวานไม่เท่ากันน้ำตาลฟรักโทส  กลูโคส และแล็กโทสมีความหวานเป็นร้อยละ 110,661 และ 16 ของน้ำตาลทรายตามลำดับ

   หน้าที่ของคาร์โบไฮเดรต

          คาร์โบไฮเดรตมีบทบาทสำคัญต่อร่างกายดังนี้
          1. ให้กำลังงาน  1 กรัมของคาร์โบไฮเดรตให้ 4  กิโลแคลอรี คาร์โบไฮเดรตเป็นสารอาหารที่ให้กำลังงานไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50  ของแคลอรีทั้งหมดที่ได้รับในแต่ละวัน  ชาวไทยในชนบทบางแห่งได้กำลังงานจากคาร์โบไฮเดรตถึงร้อยละ 80
          2. สงวนคุณค่าของโปรตีนไว้ไม่ให้เผาผลาญเป็นกำลังงาน ถ้าได้กำลังงานจากคาร์โบไฮเดรตเพียงพอ
          3. จำเป็นต่อการเผาผลาญไขมันในร่างกายให้เป็นไปตามปกติ ถ้าหากร่างกายได้คาร์โบไฮเดรตไม่พอจะเผาผลาญไขมันเป็นกำลังงานมากขึ้น เกิดสารประเภทคีโทน  (ketone  bodies) คั่ง ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้
          4. กรดกลูคูโรนิก (glucuronic acid) ซึ่งเป็นสารอนุพันธุ์ของกลูโคส ทำหน้าที่เปลี่ยนสารพิษที่เข้าสู่ร่างกายเมื่อผ่านไปที่ตับ ให้มีพิษลดลง และอยู่ในสภาพที่ขับถ่ายออกได้
          5. การทำงานของสมองต้องพึ่งกลูโคสเป็นตัวให้กำลังงานที่สำคัญ
          6. อาหารคาร์โบไฮเดรตพวกธัญพืช เป็นแหล่งให้โปรตีน วิตามิน และเกลือแร่ด้วย
อาหารที่ให้คาร์โบไฮเดรตและความต้องการคาร์โบไฮเดรต

          อาหารที่ให้คาร์โบไฮเดรตมีอยู่ 5 ประเภท คือ ธัญพืช ผลไม้ ผัก นม ขนมหวานและน้ำหวานชนิดต่างๆ แม้ว่าโปรตีนและไขมันให้กำลังงานได้เช่นเดียวกับคาร์โบไฮเดรตก็จริง แต่อย่างน้อยที่สุด ผู้ใหญ่แต่ละคนควรกินคาร์โบไฮเดรตไม่ต่ำกว่า 50-100 กรัม เพื่อหลีกเลี่ยงผลร้ายจากการเผาผลาญโปรตีนและไขมัน ถ้าจะให้ดีร้อยละ 50 ของกำลังงานที่ได้รับในแต่ละวันควรได้มาจากคาร์โบไฮเดรต
     ไขมัน

          ไขมัน หมายถึง สารอินทรีย์กลุ่มหนึ่งที่ไม่สามารถละลายได้ในน้ำ  แต่ละลายได้ดีในน้ำมันและไขมันด้วยกัน  ตัวอย่างของไขมันที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพของคน  คือ ไตรกลีเซอไรด์ (triglyceride) และคอเลสเทอรอล ส่วนใหญ่ของไขมันที่อยู่ในอาหาร คือ ไตรกลีเซอไรด์ ดังนั้น เมื่อพูดถึงไขมันเฉยๆ  จึงหมายถึงไตรกลีเซอไรด์  แต่ละโมเลกุลของไตรกลีเซอไรด์ ประกอบด้วย กลีเซอรอล (glycerol)  และกรดไขมัน  (fatty  acid) โดยกลีเซอรอลทำหน้าที่เป็นแกนให้กรดไขมัน  3  ตัวมาเกาะอยู่  กรดไขมันทั้ง 3  ชนิดอาจเป็นชนิดเดียวกันหรือต่างชนิดก็ได้   ไตร-กลีเซอไรด์ที่สกัดจากสัตว์มีลักษณะแข็งเมื่อทิ้งไว้ที่อุณหภูมิห้อง  ส่วนไตรกลีเซอไรด์ที่สกัดจากเมล็ดพืชผลไม้เปลือกแข็งและปลามีลักษณะเป็นน้ำมัน

   กรดไขมัน

          เป็นสารที่ประกอบด้วยธาตุคาร์บอน ไฮโดรเจนและออกซิเจน กรดไขมันแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
          1. กรดไขมันไม่จำเป็น เป็นกรดไขมันที่นอกจากได้จากอาหารแล้ว ร่างกายยังสามารถสังเคราะห์ได้ด้วย เช่น กรดสเตียริก (stearic acid) กรดโอเลอิก (oleic acid)
          2. กรดไขมันจำเป็น  เป็นกรดไขมันที่ร่างกายสังเคราะห์เองไม่ได้ ต้องได้จากอาหารที่กินเข้าไปมีอยู่ 3ตัวคือ กรดไลโนเลอิก (linoleic acid) กรดไลโนเลนิก  (linolenic  acid)  และกรดอะแรคิโดนิก (arachidonic acid) กรดไลโนเลอิกเป็นกรดไขมันจำเป็นที่พบมากที่สุดในอาหาร ส่วนกรดอะแรคิโดนิกนอกจากได้จากอาหารแล้ว ร่างกายยังสร้างได้จากกรดไลโนเลอิก
 หน้าที่ของไขมัน
           ไขมันมีความสำคัญในด้านโภชนาการหลายประการ นับตั้งแต่เป็นตัวให้กำลังงาน ไขมัน 1 กรัม ให้กำลังงาน 9 กิโลแคลอรี ให้กรดไขมันจำเป็นช่วยในการดูดซึมของวิตามินเอ ดี อี และเค   รสชาติของอาหารจะถูกปากต้องมีไขมันในขนาดพอเหมาะและช่วยทำให้อิ่มท้องอยู่นาน นอกจากนี้ร่างกายยังเก็บสะสมไขมันไว้สำหรับให้กำลังงานเมื่อมีความต้องการ

อาหารที่ให้ไขมัน
          ไขมัน นอกจากได้จากน้ำมันที่ใช้ในการปรุงอาหาร เช่น มันหมู มันวัว น้ำมันพืชชนิดต่างๆ อาหารอีกหลายชนิดก็มีไขมันอยู่ด้วย  เนื้อสัตว์ต่างๆ แม้มองไม่เห็นไขมันด้วยตาเปล่าก็มีไขมันแทรกอยู่  เช่น เนื้อหมู เนื้อวัว และ เนื้อแกะ มีไขมันประมาณร้อยละ 15-30 เนื้อไก่มีประมาณร้อยละ  6-15  สำหรับเนื้อปลาบางชนิดมีน้อยกว่าร้อยละ 1 บางชนิดมีมากกว่าร้อยละ 12 ปลาบางชนิดมีไขมันน้อยในส่วนของเนื้อแต่ไปมีมากที่ตับ สามารถนำมาสกัดเป็นน้ำมันตับปลาได้ ในผักและผลไม้ มีไขมันน้อยกว่าร้อยละ 1 ยกเว้นผลอะโวกาโด และโอลีฟ ซึ่งมีไขมันอยู่ถึงร้อยละ 16 และ30 ตามลำดับ ในเมล็ดพืชและผลไม้เปลือกแข็งบางชนิดมีน้ำมันมาก สามารถใช้ความดันสูงบีบเอามาใช้ปรุงอาหารได้

บทบาทของกรดไลโนเลอิกต่อสุขภาพ
       ถ้าได้กรดไลโนเลอิกไม่เพียงพอเป็นระยะเวลานาน จะปรากฏอาการแสดงต่อไปนี้ คือ การอักเสบของผิวหนัง เกล็ดเลือดลดต่ำลง ไขมันคั่งในตับ การเจริญเติบโตชะงักงัน เส้นผมหยาบ ติดเชื้อได้ง่าย และถ้ามีบาดแผลอยู่จะหายช้า การขาดกรดไลโนเลอิกนี้มักพบในผู้ป่วยที่กินอาหารทางปากไม่ได้ และได้สารอาหารต่างๆ ยกเว้นไขมัน ผ่านทางหลอดเลือดดำ ร่างกายต้องการกรดไลโนเลอิกในขนาดร้อยละ 2 ของแคลอรีที่ควรได้รับ เพื่อป้องกันการขาดกรดไลโนเลอิกการศึกษาในระยะหลังได้พบว่า  ถ้ากินกรดไลโนเลอิกในขนาดร้อยละ 12 ของแคลอรีที่ควรได้รับ  จะทำให้ระดับคอเลสเทอรอล และไตรกลีเซอไรด์ในลือดลดลง การจับตัวของเกล็ดเลือดที่จะเกิดเป็นก้อนเลือดอุดตันตามหลอดเลือดต่างๆ เป็นไปได้น้อยลง และช่วยลดความดันโลหิต

   ปริมาณของกรดไลโนเลอิกในน้ำมันที่ใช้ปรุงอาหาร

          น้ำมันที่ใช้ปรุงอาหาร ถ้ามาจากสัตว์มีกรดไลโนเลอิกน้อย น้ำมันพืชบางชนิดเท่านั้นมีกรดไลโนเลอิกมาก ในทางปฏิบัติควรเลือกกินน้ำมันพืชที่มีกรดไลโนเลอิกในเกณฑ์ร้อยละ 46  ขึ้นไป เพราะในผู้ป่วยที่ได้รับกำลังงานวันละ 2,000  กิโลแคลอรี จะต้องกินน้ำมันพืชประเภทที่มีไลโนเลอิกร้อยละ 46 ถึงวันละ 16  ช้อนชา จึงได้กำลังงานร้อยละ 12 ที่มาจากกรดไลโนเลอิก ถ้าใช้น้ำมันพืชที่มีปริมาณกรดไลโนเลอิกต่ำกว่านี้จะต้องใช้ปริมาณน้ำมันมากขึ้นในการปรุงอาหารซึ่งในทางปฏิบัติเป็นไปได้ยาก

ความต้องการไขมัน
         ปริมาณไขมันที่กินแต่ละวันควรอยู่ในเกณฑ์ร้อยละ 25-35  ของแคลอรีทั้งหมดที่ได้รับ และร้อยละ12 ของแคลอรีทั้งหมดควรมาจากกรดไลโนเลอิก
วิตามิน

          วิตามิน เป็นกลุ่มของสารอินทรีย์ ซึ่งร่างกายต้องการจำนวนน้อย เพื่อทำให้ปฏิกิริยาต่างๆ ในร่างกายเป็นไปตามปกติ ร่างกายไม่สามารถสร้างวิตามินได้ หรือสร้างได้ก็ไม่เพียงพอแก่ความต้องการ โดยอาศัยสมบัติการละลายตัวของวิตามิน ทำให้มีการแบ่งวิตามินเป็น 2 พวก คือ วิตามินที่ละลายในไขมัน และวิตามินที่ละลายในน้ำ

 วิตามินที่ละลายตัวในไขมัน

          วิตามินในกลุ่มนี้มี 4 ตัว คือ เอ ดี อี  และเคการดูดซึมของวิตามินกลุ่มนี้ต้องอาศัยไขมันในอาหาร มีหน้าที่ทางชีวเคมีเกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์โปรตีนบางชนิดในร่างกาย
          วิตามินเอ  มีชื่อทางเคมีว่า  เรทินอล (retinol) มีหน้าที่เกี่ยวกับการมองเห็น  โดยเฉพาะในที่ทีมีแสงสว่างน้อย การเจริญเติบโต และสืบพันธุ์ อาหารที่ให้เรทินอลมากเป็นผลิตผลจากสัตว์ ได้แก่ น้ำนม ไข่แดง ตับน้ำมันตับปลา พืชไม่มีเรตินอล แต่มีแคโรทีน (carotene) ซึ่งเปลี่ยนเป็นเรตินอลในร่างกายได้  การกินผลไม้  ผักใบเขียว  และผักเหลืองที่ให้แคโรทีนมาก เช่น มะละกอสุก มะม่วงสุก ผักบุ้ง ตำลึง ในขนาดพอเหมาะ จึงมีประโยชน์และป้องกันการขาดวิตามินเอได้
          วิตามินดี  มีมากในน้ำมันตับปลา ในผิวหนังคนมีสารที่เรียกว่า ดีไฮโดรคอเลสเทอรอล ซึ่งเมื่อถูกแสงอัลตราไวโอเลตจะเปลี่ยนเป็นวิตามินดีได้ เมื่อวิตามินดีเข้าสู่ร่างกายแล้วจะถูกเปลี่ยนแปลงที่ตับและไต เป็นสารที่มีฤทธิ์ช่วยในการดูดซึมแคลเซียมจากลำไส้  และการใช้แคลเซียมในการสร้างกระดูก การขาดวิตามินดีจะทำให้เกิดโรคกระดูกอ่อน
          วิตามินอี มีหน้าที่เกี่ยวกับการต่อต้านออกซิไดซ์สารพวกกรดไขมันไม่อิ่มตัว วิตามินเอ  วิตามินซีและแคโรทีน  วิตามินอีมีมากในถั่วเปลือกแข็ง ถั่วเปลือกอ่อน และน้ำมันพืช เช่น น้ำมันรำ น้ำมันทานตะวัน น้ำมันดอกคำฝอย ในเด็กคลอดก่อนกำหนดการขาดวิตามินอีทำให้ซีดได้
          วิตามินเค มีหน้าที่สร้างโปรตีนหลายชนิดที่เกี่ยวข้องกับการแข็งตัวของเลือด การขาดวิตามินเค ทำให้เกิดภาวะเลือดออกได้ง่าย วิตามินเคมีมากในตับวัวและผักใบเขียว เช่น ผักกาดหอม กะหล่ำปลี นอกจากนี้บัคเตรีในลำไส้ใหญ่ของคนสามารถสังเคราะห์วิตามินเค ซึ่งร่างกายนำไปใช้ได้

         วิตามินที่ละลายตัวในน้ำ

          วิตามินในกลุ่มนี้มีอยู่ 9 ตัว คือ วิตามินซี บี1 บี2 บี6 ไนอาซิน กรดแพนโทเทนิก (pantothenic acid) ไบโอติน (biotin) โฟลาซิน (folacin) และบี๑๒ สำหรับวิตามิน 8 ตัวหลังมักรวมเรียกว่า วิตามินบีรวมหน้าที่ทางชีวเคมีของวิตามินที่ละลายตัวในน้ำ คือ เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาหรือทำให้ปฏิกิริยาของร่างกายดำเนินไปได้ วิตามินพวกนี้ต้องถูกเปลี่ยนแปลงจากสูตรโครงสร้างเดิมเล็กน้อยก่อนทำหน้าที่ดังกล่าวได้
          วิตามินซี  มีหน้าที่เกี่ยวกับการสร้างสาร  ซึ่งยึดเซลล์ในเนื้อเยื่อชนิดเดียวกัน  ที่สำคัญได้แก่  เนื้อเยื่อหลอดเลือดฝอย  กระดูก  ฟัน และพังผืด การขาดวิตามินซี  ทำให้มีอาการเลือดออกตามไรฟัน ที่เรียกว่า โรคลักปิดลักเปิด และอาจมีเลือดออกในที่ต่างๆของร่างกาย อาหารที่มีวิตามินซีมากคือ ผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว เช่น ส้ม มะนาว และผักสดทั่วไป
          วิตามินบี1  ทำหน้าที่เกี่ยวกับปฏิกิริยาการเปลี่ยนแปลงของคาร์โบไฮเดรตในร่างกาย ถ้าขาดจะเป็นโรคเหน็บชา อาหารที่มีวิตามินบี1 มาก คือเนื้อหมูและถั่ว ส่วนข้าวที่สีแล้วมีวิตามินบี1 น้อย
          วิตามินบี2  มีหน้าที่ในขบวนการทำให้เกิดกำลังงานแก่ร่างกายอาหารที่มีวิตามินนี้มาก คือ ตับ หัวใจ ไข่ นม และผักใบเขียว
          วิตามินบี6 มีหน้าที่เกี่ยวกับการเผาผลาญโปรตีนภายในร่างกาย ถ้าได้วิตามินบี6 ไม่พอ จะเกิดอาการชาและซีดได้ อาหารที่ให้วิตามินบี6 ได้แก่ เนื้อสัตว์ เครื่องในสัตว์ ถั่ว กล้วย และผักใบเขียว
          ไนอาซิน มีหน้าที่เกี่ยวกับปฏิกิริยาการเผาผลาญสารอาหารเพื่อให้เกิดกำลังงาน การหายใจของเนื้อเยื่อและการสร้างไขมันในร่างกาย การขาดไนอาซินจะทำให้มีอาการผิวหนังอักเสบบริเวณที่ถูกแสงแดด ท้องเดินและประสาทเสื่อม ความจำเลอะเลือน อาหารที่มีวิตามินนี้มาก ได้แก่ เครื่องในสัตว์และเนื้อสัตว์ ร่างกายสามารถสร้างไนอาซินได้จากกรดอะมิโนทริปโตเฟน
          กรดแพนโทเทนิก มีหน้าที่เกี่ยวกับการเผาผลาญสารอาหารเพื่อให้เกิดกำลังงาน อาหารที่ให้วิตามินตัวนี้ ได้แก่ ตับ ไต ไข่แดง และผักสด โอกาสที่คนจะขาดวิตามินตัวนี้มีน้อย
          ไบโอติน  มีบทบาทสำคัญในปฏิกิริยาของกรดไขมันและกรดอะมิโน โอกาสที่คนจะขาดวิตามินตัวนี้มีน้อย   เพราะอาหารที่ให้วิตามินตัวนี้มีหลายชนิด เช่น  ตับ ไต ถั่ว และดอกกะหล่ำ
          โฟลาซิน  มีหน้าที่เกี่ยวกับการสังเคราะห์กรดนิวคลิอิกและโปรตีน ถ้าขาดวิตามินตัวนี้จะเกิดอาการซีด  ชนิดเม็ดเลือดแดงโต อาหารที่ให้โฟลาซินมาก คือ ผักใบเขียวสด น้ำส้ม ตับและไต
          วิตามินบี๑๒ มีส่วนสำคัญต่อการทำงานของเซลล์ในร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อไขกระดูก ระบบประสาท และทางเดินอาหาร มีส่วนสัมพันธ์กับหน้าที่บางอย่างของโฟลาซินด้วย การขาดวิตามินบี12 จะมีอาการซีดชนิดเม็ดเลือดแดงโต และมีความผิดปกติทางระบบประสาท วิตามินบี12 พบมากในอาหารจากสัตว์  เช่น  ตับ ไต น้ำปลาที่ได้มาตรฐานปลาร้า แต่ไม่พบในพืช
          จะเห็นได้ว่า วิตามินบางชนิดมีอยู่เฉพาะในพืชหรือสัตว์ บางชนิดมีทั้งในพืชและสัตว์ การกินข้าวมากโดยไม่ได้อาหารพวกเนื้อสัตว์ ถั่ว พืช ผัก ไขมัน และผลไม้ที่เพียงพอ ย่อมทำให้ขาดวิตามินได้ง่ายขึ้น เพราะข้าวที่ขัดสี แล้วมีระดับวิตามินเอ บี1 และบี12 ต่ำมาก

             เกลือแร่

          เกลือแร่ เป็นกลุ่มของสารอนินทรีย์ที่ร่างกายขาดไม่ได้ มีการแบ่งเกลือแร่ที่คนต้องการออกเป็น 2 ประเภท คือ
          1. เกลือแร่ที่คนต้องการในขนาดมากกว่าวันละ 100 มิลลิกรัม ได้แก่ แคลเซียม ฟอสฟอรัส โซเดียม โพแทสเซียม คลอรีน แมกนีเซียม และกำมะถัน
          2. เกลือแร่ที่คนต้องการในขนาดวันละ 2-3  มิลลิกรัม ได้แก่ เหล็ก ทองแดง โคบอลต์  สังกะสี แมงกานีส  ไอโอดีน  โมลิบดีนัม  ซีลีเนียม ฟลูออรีนและโครเมียม

          หน้าที่ของเกลือแร่

          ร่างกายมีเกลือแร่เป็นส่วนประกอบอยู่ประมาณร้อยละ 4 ของน้ำหนักตัว เกลือแร่แต่ละชนิดมีหน้าที่เฉพาะของตัวเอง อย่างไรก็ตาม หน้าที่โดยทั่วไปของเกลือแร่มีอยู่ 5 ประการ คือ
          1. เป็นส่วนประกอบของเนื้อเยื่อ  เช่น แคลเซียม ฟอสฟอรัส และแมกนีเซียม เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของกระดูกและฟัน ทำให้กระดูกและฟันมีลักษณะแข็ง
          2. เป็นส่วนประกอบของโปรตีน  ฮอร์โมนและเอนไซม์ เช่น เหล็ก เป็นส่วนประกอบของโปรตีนชนิดหนึ่ง เรียกว่า เฮโมโกลบิน (hemoglobin) ซึ่งจำเป็นต่อการขนถ่ายออกซิเจนแก่เนื้อเยื่อต่างๆ ทองแดงเป็นส่วนประกอบของเอนไซม์ ซึ่งจำเป็นต่อการหายใจของเซลล์ไอโอดีนเป็นส่วนประกอบของฮอร์โมนไทรอกซีน ซึ่งจำเป็นต่อการทำงานของร่างกาย ถ้าหากร่างกายขาดเกลือแร่เหล่านี้ จะมีผลกระทบต่อการทำงานของโปรตีน ฮอร์โมน  และเอนไซม์ที่มีเกลือแร่เป็นองค์ประกอบ
          3. ควบคุมความเป็นกรด-ด่างของร่างกาย  โซเดียม โพแทสเซียม คลอรีน และฟอสฟอรัส  ทำหน้าที่สำคัญในการควบคุมความเป็นกรด-ด่างของร่างกาย เพื่อให้มีชีวิตอยู่ได้
          4. ควบคุมดุลน้ำ โซเดียม  และโพแทสเซียมมีส่วนช่วยในการควบคุมความสมดุลของน้ำภายในและภายนอกเซลล์
          5. เร่งปฏิกิริยา ปฏิกิริยาหลายชนิดในร่างกายจะดำเนินไปได้ ต้องมีเกลือแร่เป็นตัวเร่ง เช่น แมกนีเซียม เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาที่เกี่ยวกับการเผาผลาญกลูโคสให้เกิดกำลังงาน

          อาหารที่ให้เกลือแร่

          ต้นตอสำคัญของเกลือแร่ชนิดต่างๆ นั้น มีอยู่ในอาหารที่ให้โปรตีน เช่น เนื้อสัตว์ นม ถั่วเมล็ดแห้งผักและผลไม้ก็ให้เกลือแร่บางชนิดด้วย เช่น โพแทสเซียม  แมกนีเซียม ส่วนโซเดียมและคลอรีนนั้นร่างกายได้จากเกลือที่ใช้ปรุงอาหาร
   น้ำ

          น้ำเป็นสารอาหารอีกชนิดหนึ่ง ที่คนขาดไม่ได้ร่างกายได้น้ำจากน้ำดื่ม และการเผาผลาญโปรตีน  คาร์โบไฮเดรต  และไขมัน  ร่างกายขับถ่ายน้ำออกมากับปัสสาวะและอุจจาระ   และโดยการระเหยทางผิวหนังและทางระบบทางเดินหายใจ ร่างกายมีกลไกควบคุมรักษาดุลน้ำให้อยู่ในเกณฑ์พอเหมาะ การขาดน้ำ  เช่น ไม่มีน้ำดื่มเป็นเวลา 2-3 วัน หรือเกิดท้องเดินอย่างรุนแรงไม่ได้รับการรักษา  สามารถทำให้เสียชีวิตได้  ในทางตรงกันข้ามถ้าร่างกายมีน้ำมากไป  เช่น  เป็นโรคไตขับถ่ายปัสสาวะไม่ได้ จะเกิดอาการบวม ซึ่งทำให้ตายได้เช่นกัน
ใยอาหาร
          ใยอาหาร (dietary fiber) หมายถึง สารจากพืชที่คนกินแล้ว น้ำย่อยไม่สามารถย่อยได้  ได้แก่  เซลลูโลส (cellulose) เฮมิเซลลูโลส (hemicellulose)  เพกทิน  (pectin) และลิกนิน (lignin) แม้ว่าร่างกายไม่สามารถย่อยใยอาหาร  แต่การไม่กินใยอาหารมีผลร้ายต่อสุขภาพได้ การศึกษาพบว่า ใยอาหารมีบทบาทสำคัญต่อการขับถ่ายอุจจาระให้ดำเนินไปตามปกติ  ซึ่งมีส่วนสำคัญต่อการป้องกันไม่ให้เกิดโรคถุงตันที่ลำไส้ใหญ่ โรคมะเร็งของลำไส้ใหญ่ และลดระดับคอเลสเทอรอลในเลือด

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *




               
               


8.   วิชาการงานและเทคโนโลยี
                โครงงานบูรณาการน้ำพริกสารพัดนึก เรื่อง น้ำพริกปลาแก้ว มีเนื้อหาเกี่ยวกับวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี  ดังนี้
Weblog
                Weblog เป็นรูปแบบเว็บไซต์ประเภทหนึ่ง ซึ่งถูกเขียนขึ้นในลำดับที่เรียงตามเวลาในการเขียนซึ่งจะแสดงข้อมูลที่เขียนล่าสุดไว้แรกสุดบล็อก โดยปกติจะประกอบด้วยข้อความภาพ ลิงค์ ซึ่งบางครั้งจะรวมสื่อต่างๆไม่ว่าเพลงหรือวิดีโอในหลายรูปแบบได้จุดที่แตกต่างของบล็อกกับเว็บไซด์โดยปกติ คือ บล็อกจะเปิดให้ผู้เข้ามาอ่านข้อมูลสามารถแสดงความคิดเห็นต่อท้ายข้อความที่เจ้าของบล็อกเป็นคนเขียนซึ่งทำให้ผู้เขียนสามารถได้ผลตอบกลับโดยทันที
การสร้างเว็บบล็อก
                ขั้นที่ 1 การสมัครเข้าใช้งาน Blogger สามารถใช้ email ของระบบใดก็ได้ แต่ในระยะยาวแล้วการเชื่อมโยงกับบริการหลายๆอย่างของ Google ควรจะใช้ email ของ Gmail
                ขั้นที่ 2 หลังจากได้บัญชีผู้ใช้แล้วให้ไปที่ www.blogger.com
6.             ไปที่ www.blogger.com
7.             คลิกที่ปุ่ม “เริ่มต้น” เพื่อเริ่มต้นการสร้างบล็อก
8.             กรอกชื่อบนเว็บบล็อก, ที่อยู่บล็อก จากนั้นคลิกปุ่ม “ตรวจสอบความพร้อมการใช้งาน” เพื่อตรวจสอบว่าที่อยู่บล็อกสามารถใช้งานได้หรือไม่ หากไม่ซ้ำจะขึ้นข้อความว่า “ที่อยู่บล็อกนี้สามารถใช้งานได้” ให้คลิกที่ปุ่ม “ดำเนินการต่อ”
9.             เลือกเทมเพลตเริ่มต้นที่เราต้องการ จากนั้นคลิกปุ่ม “ดำเนินการต่อ”
10.      จะปรากฏหน้าจอแจ้งว่า บล็อกของคุณถูกสร้างขึ้นแล้วให้คลิกปุ่ม เริ่มต้นการเขียนบล็อก
11.      ให้กรอกข้อมูลเพื่อทดสอบสั่งบทความใหม่ โดยใส่ชื่อเรื่องและรายละเอียดของเรื่องที่จะเขียน เมื่อกรอกข้อมูลเสร็จแล้วให้คลิกปุ่ม “เผยแพร่บทความ”
12.      ให้คลิกปุ่ม “ดูบทความ” เพื่อดูเว็บบล็อกของเราเป็นครั้งแรก
วิธีเปลี่ยน Template ของ Blogger
                ขั้นที่ 1 เลือก template ได้ที่
-                   http://btemplate.com
-                   http://www.bloggertemplateplace.com
-                   http://www.deluxtemplates.net
                ขั้นที่ 2 เมื่อได้ template แล้วให้เปลี่ยนดังนี้
1.             คลิก preview เพื่อดูตัวอย่างรูป
2.             หากตัดสินใจเลือกแล้วให้คลิกที่ปุ่ม Download
3.             เลือกที่อยู่เพื่อบันทึก
4.             พิมพ์ที่อยู่ weblog ของเรา
5.             คลิกที่ปุ่มออกแบบ
6.             คลิกที่ปุ่มแก้ไข
7.             คลิกที่ปุ่มเลือกไฟล์
8.             เลือกไฟล์ที่บันทึกไว้จากนั้นคลิกปุ่ม Open
9.             คลิกที่ปุ่ม Upload
10.      การอัพโหลดแม่แบบขึ้นไปแทนที่แม่แบบเดิมโดยระหว่างแทนที่อาจมีการถามถึงการลบ/เก็บ Widget ของแม่แบบเดิม ซึ่งถ้าต้องการเก็บของเก่าเอาไว้ก็เลือกเก็บ Widget ก็จะทำให้ Widget ของแม่แบบไม่ถูกลบขณะเปลี่ยน template
วิธีเขียนและจัดการข้อความในบล็อก
1.             การเข้าไปเขียนบทความ
1.1      ถ้าใช้แม่แบบที่ไม่ได้ซ่อนแถบนำทางสามารถเข้าไปเขียนบทความได้โดยคลิกที่เมนูบทความใหม่
1.2      เข้าไปเขียนบทความผ่าน draftblogger.com ควรตั้งค่าให้  draftblogger.com  เป็นเครื่องมือเริ่มต้น โดยทำเครื่องหมายถูกในส่วน กำหนดให้ บล็อกเกอร์ในแบบร่างเป็นหน้าเริ่มต้นของฉัน
2.             องค์ประกอบของเครื่องมือเขียนบทความ   
                ส่วนที่ 1 คือ ส่วนตั้งชื่อเรื่องหรือชื่อบทความ
                ส่วนที่ 2 เป็นแถบเลือกเมื่อต้องการเขียนข้อความปกติซึ่งจะมีเครื่องมือในการเขียนบทความที่เห็นในภาพข้างบน
                ส่วนที่ 3 เป็นส่วนที่ใช้สำหรับกรณีที่เราต้องการวางข้อความที่คัดลอกมาจาก MS word หรือโค้ดวีดิโอจาก YouTube ที่ต้องการให้ปรากฏและแสดงผลในบทความ
                ส่วนที่ 4 สำหรับจัดรูปแบบอักษร
                ส่วนที่ 5 เป็นเครื่องมือในการใส่ลิงค์ให้ข้อความ แทรกภาพลงในบทความ และแทรกวีดิโอลงในบทความตามลำดับ
                ส่วนที่ 6 รูปกระดาษที่เห็นนั้นใช้ในกรณีที่คุณต้องการแสดงบทความให้ผู้อ่านเห็นในหน้าหลักเพียงบางส่วนเท่านั้นและถ้าใช้เครื่องมือนี้ผู้อ่านจะต้องคลิกอ่านเพิ่มเติมจึงจะเห็นข้อความแบบเดิม เครื่องมือนี้มีข้อดีคือ ทำให้บทความที่มีความยาวมากๆสั้นลงได้และทำให้เปิดหน้าแรกได้เร็วขึ้นด้วย
                ส่วนที่ 7 เป็นส่วนที่ใช้ในการจัดเรียงข้อความ และจัดแนวรูปภาพได้ด้วย เช่น จัดชิดซ้ายหรือจัดชิดขวา เป็นต้น
                ส่วนที่ 8 ได้แก่การใส่การเน้นข้อความ การลบรูปแบบ การตรวจสอบการสะกดคำและการแปลภาษา
                ส่วนที่ 9 เป็นส่วนเผยแพร่บทความในกรณีที่ยังไม่ได้เผยแพร่บทความ
                ส่วนที่ 10 เป็นส่วนที่ใช้ในการบันทึกกรณีที่ยังไม่ได้เผยแพร่บทความ
                ส่วนที่ 11 ส่วนแสดงตัวอย่างของบทความ หากต้องการชมข้อความที่เราเขียนก่อนที่จะเผยแพร่
                ส่วนที่ 12 สำหรับปิดออกจากการเขียนบทความ
                ส่วนที่ 13 เป็นการใส่ป้านกำกับซึ่งเป็นส่วนที่ใช้ระบุว่าบทความที่เขียนนี้อยู่ในหมวดใด ซึ่งสามารถใส่ได้มากกว่าป้ายกำกับโดยคั่นด้วยเครื่องหมายจุลภาค
                ส่วนที่ 14 เป็นส่วนที่ใช้ในการวางกำหนดเวลาล่วงหน้าว่าจะให้บทความที่เขียนเผยแพร่ในวันใด หรืออาจเลือกแบบอัตโนมัติหากไม่ต้องการกำหนดเวลาล่วงหน้า
                ส่วนที่ 15 ตำแหน่งที่ตั้งเป็นตัวเลือกเสริมหากต้องการหาแผนที่ของสถานที่ที่เราต้องการใส่โดยให้พิมพ์ชื่อที่ตั้ง แล้วกดปุ่ม Search เพื่อทำการค้นหาแผนที่ที่สอดคล้องกับบทความ
                ส่วนที่ 16 เป็นส่วนของการเลือกเพิ่มเติมสำหรับบทความที่เราได้เผยแพร่ เช่น ต้องการให้มีผู้อ่านสามารถแสดงความคิดเห็นได้ เป็นต้น
เทคนิคการเขียนบทความที่ควรรู้
                ในกรณีที่มีไฟล์เอกสารจาก MS word แล้วคัดลอกมาวางเพื่อทำให้เขียนบทความได้เร็วขึ้น บางครั้งพบปัญหาข้อผิดพลาดของฟอร์ม  ปัญหานี้แก้ได้โดยก่อนวางข้อความให้คลิกที่แถบแก้ไขHTMLแล้วจึงวางข้อความที่คัดลอกมาจากนั้นจึงคลิกที่แถบเขียนเพื่อจัดรูปแบบของบทความต่อไป
การตั้งค่าพื้นฐานต่างๆ ให้กับบล็อก
                การตั้งค่าพื้นฐานต่างๆทำได้โดย Login เข้าไปที่ blogger เมื่อมาที่หน้าแผงควบคุมให้คลิกที่การตั้งค่า
การตั้งค่าแบ่งออกเป็น 9 ส่วน ได้ดังนี้
                1.ขั้นต้น สามารถดาวน์โหลด Blog เพื่อเก็บเป็น backup ข้อความบทความและcomment ของบล็อกได้โดยเลือก ส่งออกบล็อก แต่ถ้ามีข้อมูลบล็อกเดิมอยู่แล้วอยากจะนำมาใช้กับบล็อกใหม่ที่สร้างขึ้น ก็ให้เลือกนำเข้าบล็อก แต่ถ้าคิดว่าไม่ต้องการใช้บล็อกนี้แล้วก็สามารถลบทิ้งได้โดยเลือก ลบบล็อก
                2.การเผยแพร่ ในการตั้งค่าส่วนนี้สามรถเปลี่ยน URL  ของบล็อกได้
                3.การจัดรูปแบบ ในส่วนนี้เป็นการตั้งค่าการเผยแพร่บทความ เช่น จำนวนบทความในหน้าแรก
รูปแบบเวลา
                4.เมนูข้อคิดเห็น เป็นเมนูสำหรับตั้งค่าต่างๆ เกี่ยวกับการแสดงความคิดเห็นของบล็อก
                5.เก็บเข้าคลังบทความ
                6.ฟีดของไซต์ ถ้าบทความในบล็อกไม่มากนัก ตั้งค่าเป็นแบบเต็ม แต่ถ้าบทความมีประมาณ 100 ขึ้นไปควรจะตั้งเป็นแบบสั้น
                7.อีเมลและมือถือ ในส่วนนี้เป็นการตั้งค่าอีเมล์ เพื่อให้ระบบส่งบล็อกของคุณทุกครั้งที่มีการเผยแพร่และเป็นการตั้งค่าการใช้อุปกรณ์เคลื่อนที่ในการเขียนบล็อก
                8.Open ID   คุณสามารถใช้  Open ID URL เพื่อเข้าสู่ไซต์อื่นๆที่ใช้งาน Open ID นอกจากนี้คูณยังสามารถกำหนดผู้ใช้ Open ID สามารถแสดงความคิดเห็น ในบล็อกของคุณโดยปรับการตั้งค่า ความคิดเห็นของคุณ
                9.สิทธิ สามารถใช้ในการเปลี่ยนผู้เขียนบล็อกและเพิ่มผู้ดูแลระบบได้ถึง100ราย นอกจากนี้คุณยังจำกัดคนเข้าชมบล็อกได้ด้วย โดยการระบุ E-mail ของผู้ที่ต้องการลงไป
บทที่ 5 รู้จักและใช้งาน Gadget ชนิดต่างๆ บน Blogger
                Blogger หมายถึง ส่วนเสริมที่สามารถติดตั้งเพิ่มลงไปในแม่แบบของ blogger ซึ่งบางครั้งก็ถูกเรียกว่า widget ซึ่งหมายถึงสิ่งเดียวกันกับ Gadget
                เมื่อคลิกเพิ่ม Gadget ก็จะปรากฏ Gadget พื้นฐาน 24 อย่าง ที่จะกล่าวถึงในหัวข้อนี้ นอกจากนี้ยัง
Gadget อีกมากมายซึ่งคุณสามารถเลือกได้จากเมนูGadgetเพิ่มเติมทางซ้ายมือ หลังจากที่เข้าหน้าจอของแผงควบคุมเรียบร้อยแล้ว จะพบหน้าแผงควบคุมหลักๆ ใน layout ของแม่แบบคุณจะเห็นพื้นที่เพื่อให้เพิ่ม Gadget เมื่อเลือก Gadget ที่ต้องการแล้ว คลิกที่ปุ่ม+ เพื่อทำการเพิ่ม Gadget นั้นใส่ชื่อ Gadget และตั้งค่าที่ต้องการแล้วบันทึก






บทที่ 3
วิธีการดำเนินงาน

                การศึกษาเกี่ยวกับ น้ำพริกปลาแก้ว
กลุ่มผู้ศึกษา ได้กำหนดขั้นตอนในการศึกษาดังนี้

1.   ขั้นเตรียมการ
                1.1  จัดทำข้อสอบก่อนเรียน 20 ข้อ
                1.2  ศึกษาและเรียนรู้ในรายวิชาที่ครูผู้สอนได้ร่วมจัดทำหน่วยบูรณาการทั้ง 8 กลุ่มสาระ
                1.3  รวมกลุ่มกันจัดทำโครงงานบูรณาการ ในหน่วยการเรียนรู้ น้ำพริกสารพัดนึก โดยมีจำนวนสมาชิกที่เข้าร่วมกลุ่ม 11 คน
ประกอบด้วย
                                1.   นายไพรัตน์                   ขอเพ่งกลาง                          ชั้น ม.4/1              เลขที่ 6
                                2.   นายวันชัย                      มณีกลาง                                ชั้น ม.4/1              เลขที่ 7
                                3.   นายพัสกร                     สมานกลาง                           ชั้น ม.4/1              เลขที่ 12
                                4.   นางสาวณัฐริกา            นุกาศรัมย์                              ชั้น ม.4/1              เลขที่ 14
                                5.  นางสาวเกศริน              ยนจอหอ                               ชั้น ม.4/1              เลขที่ 20
                                6.   นางสาวจุฑามาศ          ยกครุฑ                                  ชั้น ม.4/1              เลขที่ 24
                                7.   นางสาวเจนจิรา            เอื้อกลาง                                ชั้น ม.4/1              เลขที่ 25
                                8.   นางสาวนลินีภรณ์       ขวัญสุริยะ                             ชั้น ม.4/1              เลขที่ 30
                                9.   นางสาวปิยมาภรณ์      คุณทะวงษ์                            ชั้น ม.4/1              เลขที่ 33
                                10. นางสาวสิทธิพร           อเนกพงษ์                             ชั้น ม.4/1              เลขที่ 38
                             11.  นางสาวณัฐกมล          เทพกลาง                               ชั้น ม.4/1              เลขที่ 50
1.4 ตั้งชื่อโครงงาน เรื่อง น้ำพริกปลาแก้ว




                                                                                                                                                                                               


 (8)
2.   ขั้นตอนดำเนินการ
                2.1  สำรวจแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นอำเภอโนนสูง  จังหวัดนครราชสีมา  เกี่ยวกับ น้ำพริกปลาแก้ว 2.2  ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับ น้ำพริกปลาแก้ว
                2.3  ฝึกปฏิบัติ/บันทึกข้อมูล/ถ่ายภาพเกี่ยวกับ น้ำพริกปลาแก้ว
                2.4  ประเมินความพึงพอใจ
                2.5  นำข้อมูลมาเขียนรายงาน 5 บท

3.  ขั้นตอนการประเมินผล
                3.1   นักเรียนร่วมกันประเมินผลด้านกระบวนการทำงาน (Process) 5 คะแนน
                3.2   ผู้ปกครองร่วมกันประเมิน ด้านคุณธรรมจริยธรรม (Attitude)   5 คะแนน
                3.3   ครูประเมินผลด้านความรู้   (Knowledge)  10  คะแนน
                                ในวันประเมินผลด้านความรู้ นักเรียนได้นำมาเสนอด้วยวาจาและในรูปของรายงาน 5 บท, แผงโครงงาน แผ่นพับ และ ชิ้นงาน                                 












                                                                                                                                                                                               




 (9)
บทที่ 4
ผลการศึกษาและบูรณาการกับ 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้

                การศึกษาเกี่ยวกับ น้ำพริกปลาแก้ว
กลุ่มผู้ศึกษา สรุปผลการศึกษาดังนี้

1.   ขั้นตอนจัดทำ น้ำพริกปลาแก้ว   มีขั้นตอนดังนี้
ส่วนผสม
1.             ปลาแก้ว                                     2        ถ้วยตวง
2.             พริกป่น                         1     ถ้วยตวง
3.             เกลือป่น                                     1    ช้อน   ครึ่ง
4.             น้ำตาลป่น                      ครึ่ง    ช้อนโต๊ะ
5.             หัวหอม กระเทียม เจียว         2     ถ้วย  ครึ่ง
6.             รสดี                                            1       ช้อนโต๊ะ
7.             ตะไคร้ ใบมะกรูด ทอด              1        ถ้วยตวง
8.             น้ำมันพืช                                    3       ถ้วยตวง
วิธีทำ
            1.  นำปลาแก้วทอดแล้วป่น
2.   นำพริกเม็ดใหญ่และเล็ก ทอดแล้วป่น
3.   นำหัวหอม กระเทียม หั่นแล้วเจียว/ทอดตะไคร้ ใบมะกรูด
4.   นำปลาแก้วที่ป่นและพริกป่นเทรวมกันแล้วคลุกให้เข้ากัน
5.   ปรุงรสด้วยเกลือป่น น้ำตาลป่นและรสดี แล้วคลุกให้เข้ากันจากนั้นนำสมุนไพร
     ที่เตรียมไว้มาเทรวมกันแล้วคนให้ทั่วอีกครั้ง          
6.  ตักบรรจุจำหน่าย/เป็นของฝากญาติพี่น้องหรือบุคคลที่เคารพนับถือได้





 (10)
2.   ผลการประเมินความพึงพอใจการจัดทำโครงงาน และเป็นการประเมินด้านกระบวนการ
     (P = Process)
                คำชี้แจง กลุ่มนักเรียนร่วมกันประเมิน ใส่เครื่องหมาย   /  ในช่องที่เห็นว่าตรงกับความคิดเห็นของกลุ่มนักเรียน     ระดับ    5                   ความพึงพอใจมากที่สุด
                                                                ระดับ    4             ความพึงพอใจมาก
                                                                ระดับ    3             ความพึงพอใจปานกลาง
                                                                ระดับ    2             ความพึงพอใจน้อย
                                                                ระดับ    1             ความพึงพอใจ
ที่
รายการประเมินความพึงพอใจ
ระดับความพึงพอใจ
5
4
3
2
1
1
การรวมกลุ่มของนักเรียน
/




2
การร่วมกันสืบค้นข้อมูล

/



3
กระบวนการคิดสร้างสรรค์งาน
/




4
การแบ่งหน้าที่การทำงานในกลุ่ม
/




5
การจัดทำเอกสาร

/



รวม (กี่ข้อ)
3
2



ใส่เลขที่ถูกเลือกซ้ำมากที่สุด
5
ความพึงพอใจของเลขที่ถูกเลือก
มากที่สุด
                                                                                                                                                                                               










 (11)
3.   ผลการประเมินของผู้ปกครอง
                ผลการประเมินด้านคุณธรรมจริยธรรม หรือเจตคติ โดยพิจารณา
จากการตั้งในทำงาน การมีวินัย  ความรับผิดชอบในการทำของนักเรียน
มีผลการประเมินของผู้ปกครอง ดังนี้
ที่
รายการประเมินความพึงพอใจ
ระดับความพึงพอใจ
5
4
3
2
1
1
การรวมกลุ่มของนักเรียน

/



2
การร่วมกันสืบค้นข้อมูล

/



3
กระบวนการคิดสร้างสรรค์งาน

/



4
การแบ่งหน้าที่การทำงานในกลุ่ม

/



5
การจัดทำเอกสาร

/



รวม (กี่ข้อ)

5



ใส่เลขที่ถูกเลือกซ้ำมากที่สุด
4
 ความพึงพอใจของเลขที่ถูกเลือกคือ
ความพึงพอใจมาก

                                                                                                               














 (12)
4.   ผลการบูรณาการจาก 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้
      ที่เกี่ยวข้องกับโครงงานของนักเรียนคือ เรื่อง น้ำพริกปลาแก้ว
4.1   วิชาคณิตศาสตร์ 

เรื่อง น้ำพริกสารพัดนึก
คำสั่ง   ให้นักเรียนหาชื่อน้ำพริกและรูปภาพพร้อมเขียนเซต
“ น้ำพริกปลาแก้วหรรษา ”
                                                                                                 
เครื่องปรุงและขั้นตอนการทำน้ำพริก
เครื่องปรุง    
1.) ปลาแก้ว 2 ถ้วยตวง                2.) พริกป่น 1 ถ้วยตวง                        3.) น้ำตาลป่น ครึ่งช้อนโต๊ะ
4.) หัวหอมกระเทียมเจียว 2 ถ้วยครึ่ง             5.) รสดี 1 ช้อนโต๊ะ         6.) ตะไคร้ ใบมะกรูดทอด 1 ถ้วยตวง                  วิธีการทำ
1.) นำปลาแก้วที่ป่นและพริกป่นเทรวมกันแล้วคลุกให้เข้ากัน
2.)  ปรุงรสด้วยน้ำตาล รสดีแล้วคลุกให้เข้ากันจากนั้นนำสมุนไพรที่เตรียมไว้มาเทรวมกันแล้วคนให้ทั่วอีก            ครั้ง
3.) ตักบรรจุจำหน่าย/เป็นของฝากญาติพี่น้องหรือบุคคลที่เคารพนับถือได้
เซตของเครื่องปรุงน้ำพริก(เขียนแบบแจกแจงสมาชิก)
A เป็นเซตของเครื่องปรุงน้ำพริกปลาแก้วหรรษา
A = ปลาแก้ว, พริกป่น, น้ำตาลป่น, หัวหอมเจียว, กระเทียมเจียว, รสดี, ตะไคร้ทอด, ใบมะกรูดทอด



























4.2   วิทยาศาสตร์
ฟิสิกส์
                โครงงานบูรณาการน้ำพริกสารพัดนึก เรื่อง น้ำพริกปลาแก้ว มีเนื้อหาเกี่ยวกับวิชาฟิสิกส์ ในเรื่อง การเขียนหน่วยเครื่องปรุงน้ำพริกปลาแก้ว
                เครื่องปรุงน้ำพริกปลาแก้ว
1.             ปลาแก้ว                                          
2.             พริกป่น                            
3.             เกลือป่น                                       
4.             น้ำตาลป่น                      
5.             หัวหอม กระเทียม เจียว        
6.             รสดี                                            
7.             ตะไคร้ ใบมะกรูด ทอด     

เคมี       
          โครงงานบูรณาการน้ำพริกสารพัดนึก เรื่องน้ำพริกปลาแก้ว มีเนื้อหาเกี่ยวกับวิชา เคมี ในเรื่องธาตุและสารประกอบ ดังนี้
น้ำพริกปลาแก้ว
                               



                                                                                                                                                                                       ส่วนผสมและขั้นตอนการทำน้ำพริก
ส่วนผสม
                                       1.            ปลาแก้ว                              2         ถ้วยตวง
       2.             พริกป่น                               1         ถ้วยตวง
       3.             เกลือป่น                             1         ช้อน ครึ่ง
       4.             น้ำตาลป่น                        ครึ่ง       ช้อนโต๊ะ
       5.             หัวหอม กระเทียม เจียว       2         ถ้วย ครึ่ง
       6.             รสดี                                    1         ช้อนโต๊ะ
       7.             ตะไคร้ ใบมะกรูด ทอด        1         ถ้วยตวง
       8.             น้ำมันพืช                             3         ถ้วยตวง

ขั้นตอนการทำ
          1.   นำปลาแก้วทอดแล้วป่น
2.   นำพริกเม็ดใหญ่และเล็ก ทอดแล้วป่น
3.   นำหัวหอม กระเทียม หั่นแล้วเจียว/ทอดตะไคร้ ใบมะกรูด
4.   นำปลาแก้วที่ป่นและพริกป่นเทรวมกันแล้วคลุกให้เข้ากัน
5.   ปรุงรสด้วยเกลือป่น น้ำตาลป่นและรสดี แล้วคลุกให้เข้ากันจากนั้นนำสมุนไพร
     ที่เตรียมไว้มาเทรวมกันแล้วคนให้ทั่วอีกครั้ง          
6.  ตักบรรจุจำหน่าย/เป็นของฝากญาติพี่น้องหรือบุคคลที่เคารพนับถือได้



ธาตุและสารประกอบที่พบในน้ำพริก (สารอาหาร)
ชื่อธาตุหรือสารประกอบ
สูตรทางเคมี
     ส่วนผสมที่พบในน้ำพริก
ประโยชน์
โซเดียมคลอไรด์
NaCl
เกลือ 
      ป้องกันโรคคอพอก
ซูโคส
C12H22O12
น้ำตาล
      ให้พลังงานและความอบอุ่นแก่ร่างกาย


4.3   วิชาสังคมศึกษา

ประเภทของภูมิปัญญาท้องถิ่น
               
 





























4.4   ภาษาไทย
เรียงความเรื่องน้ำพริก
                “น้ำพริก มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา โดยคำว่า “น้ำพริก มีความหมายมาจากการปรุงด้วยการนำสมุนไพร พริก กระเทียม หัวหอม เครื่องเทศกลิ่นแรง มาโขลก บด รวมกัน เพื่อใช้สำหรับจิ้ม โดยมีดอกแค มะเขือยาว แตงกวา ถั่วฝักยาว มะเขือม่วง ถั่วพู สัตว์น้ำต่างๆ เช่น ปลา กุ้ง เป็นต้น
                คนในสมัยก่อนนิยมรับประทานสัตว์มากกว่าสัตว์บกจึงอาจคิดค้นน้ำพริกขึ้นมาเพื่อเพิ่มรสชาติและดับกลิ่นคาวต่างๆ น้ำพริกถูกใช้เป็นส่วนประกอบของสารอาหารต่างๆหรือใช้ในการรับประทานเป็นกับข้าวก็ได้และยังได้รับความนิยมมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน สำหรับน้ำพริกแบบที่ใช้เป็นเครื่องปรุงส่วนผสมนั้นเกิดขึ้นเพราะอาหารไทยจำพวกแกงจำเป็นที่จะต้องมีส่วนประกอบหรือกรรมวิธีการทำที่ค่อนข้างซับซ้อนผุ้ปรุงจึงคิดทำน้ำพริกขึ้นเพื่อรวบรวมส่วนผสมต่างๆนั้นเข้าด้วยกัน เป็นการลดขั้นตอนการปรุงและยังสามารทำเก็บไว้ได้ในจำนวนมาก ในปัจจุบันได้มีการนำน้ำพริกชนิดต่างๆมาดัดแปลงเป็นอาหารหลากหลายประเภท รวมถึงนำมาผัดกับข้าว เช่น ข้าวผัดน้ำพริกนรก ข้าว ผัดน้ำพริกปลาทู เป็นต้น ซึ่งน้ำพริกถือเป็นอาหารที่อยู่คู่ครัวไทยไปแล้ว เพราะน้ำพริกนั้นหารับประทานได้ง่าย แล้วสามารถรับประทานอาหารคู่กับผักสดได้ โดยทั่วไปแล้วคนไทยในเขตชนบทส่วนใหญ่จะรับประทานน้ำพริกกับผักต่างๆที่ปลูกไว้หรือผักริมรั้ว ซึ่งน้ำพริกเป็นสิ่งที่รับประทานได้ง่าย ไม่ต้องใช้วัตถุดิบเยอะ เพราะส่วนผสมของน้ำพริกส่วนใหญ่หลักๆก็จะมีพริก และสมุนไพรต่างๆ เช่น หอมแดง กระเทียม ตะไคร้ เป็นต้น น้ำพริกในปัจจุบันก็มีความหลากหลาย มีพ่อค้า แม่ค้า คิดค้นผลิตและนำไปขายสู่ตลาดและมีการพัฒนาไปสู่ในประเทศต่างๆ และน้ำพริกมีลักษณะที่แตกต่างจากอาหารชนิดอื่นไม่ว่าจะกินอาหารมื้อไหนๆก็จะมีน้ำพริกมาประกอบ ถ้าให้นิยามว่า ถ้ามีผักก็ต้องมีน้ำพริก เพราะ ผักกับน้ำพริกเป็นของคู่กัน น้ำพริกทำให้ผักที่มีรสชาติขมมีรสชาติที่น่าทานมากขึ้น เช่น กินน้ำพริกหวานกับสะเดา
                และในการทำโครงงานครั้งนี้ก็ได้ดัดแปลงนำมาทำเป็น “น้ำพริกปลาแก้ว เพื่อให้น้ำพริกมีความหลากหลายมากขึ้นและให้เป็นที่แปลกใหม่ให้ผู้ที่รับประทานได้ทานน้ำพริกที่มีความแปลกใหม่และมีรสชาติของปลาแก้วมาผสมผสานกับสมุนไพรเพื่อให้ได้รับความแปลกใหม่แประโยชน์จาก “น้ำพริกปลาแก้ว                                                                                            








4.5   วิชาภาษาอังกฤษ
                โครงงานบูรณาการน้ำพริกสารพัดนึก เรื่องน้ำพริกปลาแก้ว มีเนื้อหาเกี่ยวกับวิชาภาษาอังกฤษ ดังนี้
Ingredients
1.             Plar keaw             2              measuring cup
2.             Chili powder       1              measuring cup
3.             Salt                        ½            tablespoon
4.             Sugar                     ½           tablespoon
5.             Fry Onion/ Fry garlic       2             measuring cup
6.             Seasoning powder              1              tablespoon
7.             Fry lemon grass/bergamot leaf      1              measuring cup
8.             Oil                          3              measuring cup
How to make     
1.             Fry Plar kaew and make it to powder.
2.             Fry chili and make it to a powder.
3.             Chop onion & garlic and
4.             Mix it all together.
5.             Pot salt, sugar and seasoning powder and mix all.















4.6   วิชาศิลปะ
                โครงงานบูรณาการน้ำพริกสารพัดนึก เรื่องน้ำพริกปลาแก้ว มีเนื้อหาเกี่ยวกับวิชา ศิลปะ ดังนี้

เพลง น้ำพริกปลาแก้ว
                พ.ศ.2555 เจนจิราตีกลองประชุม พวกเราก็มาชุมนุม มาประชุมที่โรงเรียน ต่อไปนี้เจนจิราจะขอกล่าว ถึงเรื่องราวที่ได้รับฟังมา โรงเรียนเขาสั่งการว่า(ซ้ำ) ให้พวกเรามาบูรณาการเอย เรื่องราวที่นำมาเอ่ย เราก็คุ้นเคยน้ำพริกนั่นไง ปลาแก้วเรานำมาใช้(ซ้ำ) ผสมในน้ำพริกเอย เครื่องปรุง ส่วนผสม ส่วนประกอบ ไม่ยากหรอกถ้าพวกเราตั้งใจฟัง ปลาแก้ว พริกป่น นำมาทำ(ซ้ำ) เกลือป่น น้ำตาล หัวหอม กระเทียมเจียว รสดีตะไคร้ใบมะกรูด น้ำมันพืชอย่าลืมเชียว เพราะมันใช้เจียว กระเทียม หอมหัวแดง ต่อไปนี้จะกล่าวถึงวิธีการทำ

ท่ารำ
1.             สอดสร้อยมาลา                                                                                                                                                                                   

















2.             ชักแป้งผัดหน้า

















3.             ประสานงา










4.             รำส่าย















5.              ยูงฟ้อนหาง












4.8   วิชาการงานและเทคโนโลยี
                โครงงานบูรณาการน้ำพริกสารพัดนึก เรื่องน้ำพริกปลาแก้ว มีเนื้อหาเกี่ยวกับวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี ในเรื่องการสร้าง web Blogger ดังนี้
www.namphirkparkeaw.com
               













บทที่ 5
สรุปผลการศึกษา ข้อเสนอแนะ

                การศึกษาเกี่ยวกับ น้ำพริกปลาแก้ว  กลุ่มผู้ศึกษา สรุปผลการศึกษาดังนี้
1.  วัตถุประสงค์
2.1  เพื่อศึกษา น้ำพริกปลาแก้ว ในเขตอำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา
               2.2   เพื่อศึกษาความพึงพอใจใน น้ำพริกปลาแก้ว ในเขตอำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา  

2.   ขั้นตอนจัดทำ น้ำพริกปลาแก้ว สรุปผลขั้นตอนการทำ ดังนี้
ส่วนผสม
1.              ปลาแก้ว                                    2        ถ้วยตวง
2.             พริกป่น                         1     ถ้วยตวง
3.             เกลือป่น                                     1    ช้อน   ครึ่ง
4.             น้ำตาลป่น                      ครึ่ง    ช้อนโต๊ะ
5.             หัวหอม กระเทียม เจียว         2     ถ้วย  ครึ่ง
6.             รสดี                                            1       ช้อนโต๊ะ
7.             ตะไคร้ ใบมะกรูด ทอด              1       ถ้วยตวง
8.             น้ำมันพืช                                    3       ถ้วยตวง
วิธีทำ
            1.  นำปลาแก้วทอดแล้วป่น
2.   นำพริกเม็ดใหญ่และเล็ก ทอดแล้วป่น
3.   นำหัวหอม กระเทียม หั่นแล้วเจียว/ทอดตะไคร้ ใบมะกรูด
4.   นำปลาแก้วที่ป่นและพริกป่นเทรวมกันแล้วคลุกให้เข้ากัน
5.   ปรุงรสด้วยเกลือป่น น้ำตาลป่นและรสดี แล้วคลุกให้เข้ากันจากนั้นนำสมุนไพร
     ที่เตรียมไว้มาเทรวมกันแล้วคนให้ทั่วอีกครั้ง          
6.  ตักบรรจุจำหน่าย/เป็นของฝากญาติพี่น้องหรือบุคคลที่เคารพนับถือได้





                                                                                                                                                                               

3.   ผลการประเมินความพึงพอใจการจัดทำโครงงาน และเป็นการประเมินด้านกระบวนการ
      (P = Process)
                                ค่าเฉลี่ยของคะแนน                            เท่ากับ    4.60 (เต็ม 5 คะแนน)
                                ความหมายของค่าคะเฉลี่ย                เท่ากับ    มีความพึงพอใจมากที่สุด
4.  ผลการประเมินของผู้ปกครอง  ประเมินด้านคุณธรรมจริยธรรมหรือเจตคติ  (A  =  Attitude)
                                ค่าเฉลี่ยของคะแนน                            เท่ากับ    .............               (เต็ม 5 คะแนน)
                                ความหมายของค่าคะเฉลี่ย                เท่ากับ    มีความพึงพอใจ.................................

5.  ประเมินผลด้านความรู้
                                ค่าเฉลี่ยของคะแนน                            เท่ากับ    .............               (เต็ม 10  คะแนน)
                                ความหมายของค่าคะเฉลี่ย                เท่ากับ    มีความพึงพอใจ.................................
                (นำผลการประเมินจากการประเมินของครูในวันจัดกิจกรรมบูรณาการมาใส่)

6.  ข้อค้นพบใหม่ที่นักเรียนได้รับจากการศึกษาโครงงานนี้(ตามความเป็นจริง) คือ
                 การช่วยเหลือกันทำงานในกลุ่ม การแบ่งหน้าที่ การรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมาย ความสามัคคีในหมู่คณะ และได้รู้ว่าการทำน้ำพริกปลาแก้วสามารถดัดแปลงสูตรได้โดยการนำปลาชนิดอื่นมาทำได้

7.  ข้อเสนอแนะ เพื่อปรับปรุงสำหรับการจัดกิจกรรมครั้งต่อไป
                1. เพื่อให้ได้รสชาติที่ดีขึ้นสามารถนำปลาชนิดอื่นมาใช้แทนปลาแก้วได้
                2. เพื่อให้ได้รสชาติที่ดีขึ้นสามารถเพิ่มหรือลดหัวหอมเจียวและกระเทียมเจียวได้ตามต้องการ